ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ต้องรักษาให้ถูกต้อง
หน้าแรก
พบหมอรามาฯ : ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ต้องรักษาให้ถูกต้อง (ช่วงฟังหมอก่อนแชร์)
พบหมอรามาฯ : ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ต้องรักษาให้ถูกต้อง (ช่วงฟังหมอก่อนแชร์)

IBD เกิดขึ้นได้อย่างไร

ลำไส้อักเสบเรื้อรังจะแบ่งแยกกันเป็นหลายอย่าง คือ จะเป็นแบบติดเชื้อซึ่งก็ไม่ได้มีเชื้อโรคมากนักที่ติดเรื้อรังได้ แต่ส่วนใหญ่ที่คนพูดถึงคือ แบบที่ไม่ได้ติดเชื้อ จริง ๆ แล้วมันจะมี 2 โรคใหญ่ในกลุ่มโรคนี้ ก็จะมีโรคที่เรียกว่า Crohn’s disease และ Ulcerative Colitisก็คือลำไส้ใหญ่อักเสบ

สาเหตุการเกิดยังไม่ชัดเจนเท่าไร ส่วนหนึ่งมาจากพันธุกรรม อีกส่วนก็คือ คล้าย ๆ ภูมิต้านทานในร่างกายผิดปกติ อาจจะรุนแรงเกินไปแล้วไปทำร้ายตัวเองมากไปด้วย และจะมีส่วนของเรื่องแบคทีเรียในลำไส้

เราพบว่าทางตะวันตกจะมีอัตราการเกิดของโรคนี้มากกว่าทางตะวันออกนะครับ แต่ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงเรื่องอาหารการกิน เรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยหรือของคนเอเชีย โรคนี้พบได้มากขึ้น ตัวโรคเองจะทำให้เป็นแผลในลำไส้ เป็น ๆ หาย ๆ บางทีก็ดีขึ้น บางทีก็แย่ลง

การรักษาแบบวิเคราะห์กันเองว่าเป็นโรคอะไร จะทำให้มีผลอย่างไร

ประเด็นคือมันใช่โรคนี้หรือเปล่า อาการอาจจะคล้ายกับโรคอื่นได้ อาจจะกลายเป็นมะเร็งลำไส้ก็ได้ หรือว่าเป็นการติดเชื้อในลำไส้ก็ได้ ดังนั้นการมาหาหมอ หมอก็จะสามารถช่วยวิเคราะห์ส่องกล้องดูว่าตกลงมันใช่หรือไม่ใช่ พอรู้แล้วว่าเป็นโรค inflammatory bowel disease หรือ IBD เราก็จะได้วางแผนยาได้ถูก ถ้าไปทานอย่างอื่น แผลในลำไส้ก็อาจจะมากขึ้น ใหญ่ขึ้น หรืออาจจะทะลุก็ได้ ดังนั้น ยิ่งมาช้าก็จะยิ่งรักษายาก อาจจะต้องใช้การรักษาที่รุนแรงขึ้น เช่น ผ่าตัด ตัดส่วนที่อักเสบหรือเป็นแผลออก

ยาต้มช่วยรักษาได้จริงไหม

ยาหลายอย่างเรามีการทดลองมาแล้ว เปรียบเทียบกับการไม่ใช้ยาหรือใช้ยาแบบยาหลอด ก็พบว่า ยาที่แพทย์ใช้ตอนนี้ได้ประโยชน์ แต่มันก็จะมียาหลายอันที่เราเคยทดลองมาแล้วที่ไม่สำเร็จ

ในการรักษาเราจะใช้ยาหลังจากที่มีการวิจัย ยาที่ไม่มีการวิจัย ใครก็อ้างก็ได้ แต่ส่วนใหญ่จะไม่ได้ผล อาจจะทำให้แย่ลงก็ได้ หรืออาจจะทำให้ตับแย่ลงก็ได้ ดังนั้น ส่วนตัวก็มักจะแนะนำว่าอย่าไปใช้เลย มาหาแพทย์ดีกว่า เพราะว่าเราจะได้ใช้ยาที่ถูกต้อง แล้วประเมินว่าได้ผลดีหรือไม่ บางอันสำหรับบางคนก็ไม่ได้ผล ก็ต้องไปเปลี่ยนตัวยา เพราะมียาหลายชนิดที่รักษาโรคนี้

ทำไมต้องรักษาให้ถูกต้อง

ทั้งสองโรคนี้ Crohn’s disease กับ Ulcerative Colitis (UC) ลำไส้ใหญ่อักเสบ ทั้งคู่ทำให้ลำไส้เป็นแผลได้ อาจจะมีการเลือดออก หรือท้องเสีย หรือถ่ายเป็นเลือดได้ ถ้าเป็นเยอะ ๆ จะมีปัญหา จะท้องเสียบ่อยมาก เลือดออกด้วย แล้วถ้าไม่รักษาเลย แล้วเป็นมาก ก็อาจจะลำไส้ทะลุได้ บางทีอาจจะดูดซึมอาหารไม่ได้ น้ำหนักลดลงเรื่อย ๆ ดังนั้นจึงต้องรักษา ไม่อย่างนั้นอาจจะเสี่ยงต่อชีวิตได้

คำแนะนำ

สำหรับผู้ที่เป็นต้องประเมินตัวเองดี ๆ ถ้าท้องเสียมากขึ้น ถ้ามีเลือดออก ต้องกลับมาหาแพทย์เร็วหน่อย

อีกอย่างคือ ตอนนี้ทางชมรมลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ของแพทย์โรคทางเดินอาหารแห่งประเทศไทยก็ร่วมมือกับชมรมของผู้ป่วยโรคนี้ ซึ่งเรียกว่า IBD’s friends สามารถเสิร์ชได้ เราก็พยายามให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้

สำหรับผู้ที่คิดว่าเป็น อย่ารักษาตัวเองด้วยยาต้ม แนะนำว่าให้มาหาแพทย์โรคทางเดินอาหาร เพราะเราควรจะส่องกล้องดูว่าใช่หรือไม่ใช่ เพราะอาจจะเป็นโรคอื่นได้

 

ข้อมูลโดย
ผศ. นพ. มล.ทยา กิติยากร
สาขาวิชาโรคทางเดินอาหารและตับ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “ฟังหมอก่อนแชร์ : ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ต้องรักษาให้ถูกต้อง” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

การนอนหลับมักมาคู่กับ ความฝัน หากฝันดีตื่นเช้ามาก็สดใสไม่มีเรื่องกังวลอะไร แต่ถ้า ฝันร้าย ก็คงสร้างความวิตกกังวลส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
การนอนหลับมักมาคู่กับ "ความฝัน" หากฝันดีตื่นเช้ามาก็สดใสไม่มีเรื่องกังวลอะไร แต่ถ้า "ฝันร้าย" ก็คงสร้างความวิตกกังวลส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
บทความสุขภาพ
23-08-2024

12

บทความ เรื่อง การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ของ ผู้หญิง
การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) และความเสี่ยงอื่น ๆ ทางระบบสืบพันธ์ุของผู้หญิง
บทความสุขภาพ
22-08-2024

7

หลงลืม บ่อย สับสน หลงทาง อาการปกติในวัยผู้สูงอายุที่เป็นสัญญาณของ โรคสมองเสื่อม ซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
หลงลืม บ่อย สับสน หลงทาง อาการปกติในวัยผู้สูงอายุที่เป็นสัญญาณของโรคสมองเสื่อมซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
บทความสุขภาพ
21-08-2024

8

ภาวะ PMS อาการผิดปกติที่เกิดขึ้น ก่อนมีประจำเดือน เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิงตอนมี ประจำเดือน ส่งผลทั้งด้านสุขภาพกายและจิตใจ
ภาวะ PMS อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือน เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิงตอนมีประจำเดือน ส่งผลทั้งด้านสุขภาพกายและจิตใจ
บทความสุขภาพ
20-08-2024

22