ไฟฟ้าดูดในเด็ก
หน้าแรก
ลดความเสี่ยงจากไฟฟ้าดูดในเด็ก และวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น
ลดความเสี่ยงจากไฟฟ้าดูดในเด็ก และวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น

“ไฟดูด” ความอันตรายที่รุนแรงถึงชีวิต ถือเป็นปัญหาที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก จากการสำรวจยังพบว่าในประชากรเด็กมีการเสียชีวิตจากไฟดูดสูงเป็นอันดับที่ 3 รองจากการเสียชีวิตด้วยการจมน้ำเป็นอันดับ 1 และเสียชีวิตจากการจราจรเป็นอันดับที่ 2 ตามลำดับ ดังนั้นการป้องกันและการปฐมพยาบาลจากปัญหาดังกล่าว ถือเป็นเรื่องที่ทุกคนควรรู้

ปัญหาไฟดูดที่เกิดกับเด็ก

  1. เด็กที่เริ่มชูนิ้วและเคลื่อนไหวร่างกายได้ มักมีการแหย่นิ้วมือลงไปในช่องต่าง ๆ เช่น รางปลั๊กไฟที่ถูกวางไว้บนพื้น ทำให้มีความเสี่ยงจากไฟดูด
  2. เด็กที่เริ่มใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ อาจมีการใช้งานที่ผิดวิธี และนำไปสู่ปัญหาไฟดูด
  3. ปัญหาจากกิจกรรมการเล่น หรือการเล่นในพื้นที่ที่ต้องใช้ไฟฟ้าในการขับเคลื่อน เช่น เครื่องเล่นสวนสนุก สวนน้ำ ลานปาร์ตี้โฟม เป็นต้น

การป้องกันอุบัติเหตุจากไฟดูดในเด็ก

  1. ผู้ปกครองควรดูแลเด็กอย่างใกล้ชิด
  2. จัดสิ่งแวดล้อมให้มีความปลอดภัย เช่น ไม่วางรางปลั๊กไฟไว้ที่พื้น หรือที่ที่เด็กเข้าถึงได้ง่าย เป็นต้น
  3. เดินสายดินและติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วภายในบ้าน
  4. สอนการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ถูกต้องให้กับเด็ก เมื่อถึงวัยที่สามารถใช้งานได้

วิธีปฐมพยาบาลผู้ประสบเหตุไฟดูด

  1. หากพบเห็นผู้ประสบเหตุไฟดูด อย่าเพิ่งเข้าไปช่วยทันที ให้ตัดแหล่งกำเนิดไฟฟ้าก่อน แล้วจึงเข้าไปช่วยเหลือตามลำดับ
  2. หากผู้ประสบเหตุ มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ จำเป็นต้องใช้เครื่องช็อคไฟฟ้าหัวใจ (AED) ควรโทรเรียกรถพยาบาล 1669 หรือหาเครื่องช็อคไฟฟ้าหัวใจที่ใกล้ที่สุดมาปฐมพยาบาลผู้ประสบเหตุ
  3. ระหว่างรอรถพยาบาลให้คลำหาชีพจรผู้ประสบเหตุ หากผู้ประสบเหตุไม่มีชีพจรแล้ว ให้ทำการปั๊มหัวใจรอเพื่อให้มีเลือดไปเลี้ยงสมอง ระหว่างที่หัวใจไม่ทำงาน และเมื่อได้เครื่องช็อคไฟฟ้าหัวใจมาให้รีบใช้ทันที

 

ข้อมูลโดย
รศ. นพ.อดิศักดิ์ ผลิตการพิมพ์
ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก
และผศ. นพ.ปุงควะ ศรีเจริญ
ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ ““ปิดเทอมใหญ่ห่างไกลภัย ห่างไกลโรค”ตอน อันตรายจาก… ไฟฟ้า | สารคดีสั้นให้ความรู้” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง เลี่ยง ปัจจัยเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง หรือ ความดันเลือด สูง
ความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่ไม่แสดงอาการชัดเจนทำให้หลายคนไม่รับรู้ถึง ปัจจัยเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้นควรศึกษาความรู้เพื่อเลี่ยงการเกิดโรคนี้ในอนาคต
บทความสุขภาพ
27-03-2024

5

smiling depression คือ อาการ รอยยิ้ม โรคซึมเศร้า
รอยยิ้ม บนใบหน้าที่เป็นการแสดงความรู้สึกที่มีความสุข แต่ภายในจิตใจกลับทุกข์ไม่มีความสุข อาการแบบนี้อาจเสี่ยงเป็นภาวะ Smiling Depression
บทความสุขภาพ
21-03-2024

9

พยาธิในปอด อาการ รักษา โรคพยาธิใบไม้ในปอด อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ
อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ เป็นอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงให้สุกตามสุขอนามัย สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายทำให้เสี่ยงกับการเป็น โรคพยาธิใบไม้ในปอด ได้
บทความสุขภาพ
20-03-2024

2

ไข้หวัดใหญ่อาการ รักษา ไข้หวัดใหญ่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ุ A
“ไข้หวัดใหญ่” เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้บ่อยในประเทศไทย โดยสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปีแต่ช่วงที่เกิดการระบาดมากที่สุดคือช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว
บทความสุขภาพ
20-03-2024

8