รักลูกให้ถูกทาง ต้องสอนให้ลูกมีน้ำใจ
หน้าแรก
รักลูกให้ถูกทาง ต้องสอนให้ลูกมีน้ำใจ

รักลูกให้ถูกทาง ต้องสอนให้ลูกมีน้ำใจ

มีคุณพ่อคุณแม่หลายคนบ่นถึงลูกๆ ในยุคนี้ว่า ไม่ค่อยมีน้ำใจ บ้างก็ติดหนึบหนับกับสังคมออนไลน์จนไม่สนใจคนรอบข้าง ทำให้เราต้องมามองหาวิธี “ใส่” ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้กับหัวใจดวงเล็ก ๆ ของเด็ก ๆ ที่กำลังจะโตเป็นผู้ใหญ่ในวันหน้า ซึ่งคนที่จะใส่ได้นั้นไม่ใช่ใคร หลัก ๆ คือ คุณพ่อคุณแม่ที่อยู่กับเขาทุกเมื่อเชื่อวันนั่นเอง ลองมาดูกันไหมคะว่า ท่านผู้อ่านในฐานะพ่อแม่ จะสามารถทำอะไรที่แสดงออกได้ถึงความมีน้ำใจ ความเอื้ออารีต่อคนรอบข้างให้ลูกดูเป็นตัวอย่างได้บ้าง

  • ให้ความช่วยเหลือ หากพบว่า มีคนเอื้อมมือหยิบของบนที่สูงไม่ถึง (ถ้าคุณตัวสูงพอ)
  • หากกำลังจะเปิดประตูเข้าอาคารห้างร้าน แล้วพบว่า มีคนเดินตามาข้างหลัง แค่เปิดประตูค้างไว้นานอีกนิด เผื่อให้คนที่ตามมาข้างหลังได้เข้ามาด้วยก็จะเป็นการแสดงความเอื้อเฟื้อต่อเขาด้วยเช่นกัน
  • ยิ้มและทักทายคนรู้จักด้วยไมตรีจิต
  • ให้กำลังใจเพื่อน หรือคนรู้จัก หากทราบว่า เขาเจอเรื่องแย่ ๆ มา
  • เมื่อได้ทำความรู้จักกับคนใหม่ ๆ พยายามจำชื่อ และเอกลักษณ์ของคน ๆ นั้นเอาไว้ วันหน้าหากคุณได้พบกับเขาเหล่านั้นอีก และเขาทราบว่า คุณจำได้ เขาจะรู้สึกดีกับตัวเอง และกับตัวคุณมากขึ้น
  • ให้ความช่วยเหลือกับเด็ก คนอ่อนแอ หรือสัตว์เลี้ยงที่ถูกกระทำรุนแรง
  • กรณีที่คุณได้รับบริการพิเศษ หรือเกิดเรื่องประทับใจใด ๆ ขึ้นกับหน่วยงานที่คุณเข้าไปติดต่อ เช่น ได้รับความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่อย่างดี ไม่ตะคอกใส่ ไม่เพิกเฉยต่อคำร้องเรียนของคุณ ลองเขียนจดหมายบอกเล่าถึงความดีของเจ้าหน้าที่คนนั้นส่งไปให้องค์กรของเขาได้รับทราบ
  • เมื่อมีคนพยายามจะเปิดวงนินทา แล้วคุณบังเอิญอยู่ในวงนั้นพอดี ขอให้ลองชวนเปลี่ยนหัวข้อสนทนา หรือไม่ก็หางานอย่างอื่นทำ
  • หากคุณมีหนังสือดี ๆ และต้องการมอบมันให้กับใครสักคนที่ต้องการกำลังใจ ลองวางในที่ที่คาดว่า จะมีคนมาพบ และหยิบมันขึ้นดูแน่ ๆ เช่น บนเก้าอี้รถเมล ในสวนสาธารณะ จะดียิ่งขึ้น หากคุณเขียนโน้ตบอกผู้ที่มาหยิบหนังสือนี้ว่า ขอให้ผู้ที่หยิบขึ้นมาอ่านรู้สึกดี ๆ กับหนังสือเล่มนี้เหมือนที่คุณรู้สึก และแบ่งปันให้กับคนอื่น ๆ ต่อไป
  • หากทราบว่า เพื่อนบ้าน คนรู้จักป่วย ลองให้ความช่วยเหลือแก่เขาเหล่านั้น เช่น ส่งอาหารอร่อย ๆ ไปให้ ไปเยี่ยมเป็นเพื่อนพูดคุยคลายเหงา จะช่วยให้คนป่วยรู้สึกดีขึ้น
  • ทำขนมอร่อย ๆ และแบ่งให้เพื่อนบ้านลองชิม
  • หากคุณพบว่า ในละแวกบ้านมีบางครอบครัวประสบปัญหาทางการเงิน ลองให้ความช่วยเหลือโดยการซื้อของใช้จำเป็นไปมอบให้
  • ยามเย็น ลองเปิดบ้าน หยิบนิทานมาเล่าให้เด็ก ๆ ฟัง
  • ลองชวนลูกเขียนจดหมาย -ส่งข้อความดี ๆ หาเพื่อน หาคุณตาคุณยาย คนรู้จัก
  • ให้ความช่วยเหลือกับเด็ก คนชรา ที่กำลังรอข้ามถนน หรือต้องขึ้นลงรถโดยสารประจำทาง
  • หากคุณซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ตจำนวนมาก ๆ แล้วพบว่า คนที่ต่อคิวข้างหลังคุณมีของไม่มากนัก อาจให้เขาจ่ายเงินก่อนคุณเพื่อที่เขาจะได้เสร็จธุระเร็วขึ้น

สิ่งต่าง ๆ ที่เขียนมาข้างต้นนี้ คงต้องบอกว่าเป็นการทำเพื่อคนอื่น โดยที่ไม่ได้หวังผลตอบแทนจากการกระทำนั้น ๆ นอกจากความสุขในใจของผู้ทำ ซึ่งเราเชื่อว่า เรื่องของน้ำใจ การช่วยเหลือคนอื่นเป็นสิ่งที่พ่อแม่สอนอย่างเดียวไม่ได้ เด็กคงไม่ทำตามหากพ่อแม่ไม่ทำให้ดูก่อน

ดังนั้นหากอยากให้ลูก ๆ เป็นเด็กที่เอาใจเขามาใส่ใจเรา มีน้ำใจกับคนอื่น ๆ เป็นคนดีของสังคม คงต้องเริ่มต้นจากตัวพ่อแม่กันก่อนค่ะ นอกจากนี้ สำหรับท่านผู้อ่านท่านอื่นที่ไม่มีลูกเป็นของตนเอง แต่อยากทำให้สังคมในอนาคตดีขึ้นก็สามารถทำเรื่องดี ๆ ให้เด็ก ๆ ที่เป็นอนาคตของชาติเห็นเป็นตัวอย่างได้เช่นกัน

 

ข้อมูลจาก
เว็บไซต์ทีนรามา

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคฝีดาษลิง ไวรัสอันตรายจากลิงสู่คน
โรคฝีดาษลิงเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่แพร่จากสัตว์สู่คน มีอาการไข้ ผื่นตุ่มหนอง และปวดเมื่อย พบมากในพื้นที่ที่มีการสัมผัสสัตว์ป่าโดยตรง
บทความสุขภาพ
30-11-2024

3

โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร อาการ สาเหตุ การป้องกัน
มะเร็งกระเพาะอาหารเกิดจากพฤติกรรมการกินและปัจจัยทางพันธุกรรม อาการเริ่มต้นไม่ชัดเจน ควรตรวจสุขภาพและปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยง
บทความสุขภาพ
29-11-2024

1

ภาวะเบาหวานขึ้นตา อันตรายถึงตาบอดตลอดชีวิต
เบาหวานขึ้นตาเกิดจากน้ำตาลในเลือดสูงทำลายหลอดเลือดในจอประสาทตา เสี่ยงตาบอดถาวร ควรตรวจตาและควบคุมน้ำตาลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
บทความสุขภาพ
28-11-2024

-28

ข้อเข่าเสื่อม สามารถเกิดได้แม้ในวัยหนุ่มสาว หากใช้งานเข่าหนักหรือมีน้ำหนักเกิน ควรดูแลข้อเข่าและออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยง
ข้อเข่าเสื่อมสามารถเกิดได้แม้ในวัยหนุ่มสาว หากใช้งานเข่าหนักหรือมีน้ำหนักเกิน ควรดูแลข้อเข่าและออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยง
บทความสุขภาพ
25-11-2024

33

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
0 2201 1000
0 2200 3000

งานสื่อสารองค์กร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

270 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร. 0 2201 0182
โทรสาร 0 2201 2127
อีเมล ramachannel24@gmail.com

© 2024, RAMA CHANNEL