ยาแอสไพริน โรคหลอดเลือดสมอง
หน้าแรก
ยาแอสไพริน ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
ยาแอสไพริน ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

ยาแอสไพริน เป็นตัวยาที่ช่วยป้องกัน โรคหลอดเลือดสมอง ได้ มีจำหน่ายตามร้านขายยาทั่วไป แต่บางรายพบว่าเวลาไปซื้อยาชนิดนี้ตามร้านขายยาด้วยตนเอง เภสัชกรกลับไม่ยอมจ่ายยาให้ ทำให้เกิดข้อสงสัยอยู่ว่ายาชนิดดังกล่าวนั้นสามารถซื้อกินเองได้หรือไม่ ทำให้ต้องไขข้อสงสัยเรื่องนี้ด้วยข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ

มาทำความรู้จักกับ ยาแอสไพริน

แอสไพริน เป็นยาในกลุ่ม Non Steroidal anti-inflammatory drugs (NSAIDs หรือ เอ็นเสด) ใช้สำหรับลดอาการอักเสบ ปวด บวม แดง ลดไข้ อีกทั้งยังใช้สำหรับป้องกันการเกิดหลอดเลือดอุดตันได้อีกด้วย

รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ >>> ทำความรู้จักกับยา “แอสไพริน”

ยาแอสไพริน มีกลไกการออกฤทธ์อย่างไร?

แอสไพริน ออกฤทธิ์ยับยั้งสารที่ทำให้เกิดการอักเสบ ชื่อว่า Cyclooxygenase (COX) ทำให้อาการอักเสบ และไข้ลดลง นอกจากนี้ยาแอสไพรินยังช่วยยับยั้งการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือด

ข้อบ่งใช้และขนาดยาแอสไพริน

ขนาดยาแอสไพรินขึ้นอยู่กับข้อบ่งใช้ และดุลพินิจของแพทย์

  • แก้ปวด อักเสบ ลดไข้ : Aspirin 325-650 มิลลิกรัม ทุก 4-6 ชั่วโมง หรือใช้เมื่อมีอาการ รับประทานยาหลังอาหารทันที
  • สำหรับป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตัน และรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ควรปรึกษาแพทย์ก่อนเริ่มใช้ยานี้

ข้อควรระวังและข้อห้ามในการใช้ยาแอสไพริน

  • ระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดเลือดออก เช่น ผู้ป่วยโรคเลือดออกผิดปกติ ผู้ป่วยไข้เลือดออก ผู้ป่วยที่กำลังจะเข้ารับการผ่าตัดหรือถอนฟัน คนไข้ต้องหยุดยาแอสไพรินล่วงหน้าก่อนทำหัตถการ และต้องปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง ห้ามหยุดยาเอง
  • ผลข้างเคียงของยาแอสไพริน ทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร จึงควรรับประทานยาหลังอาหารทันที โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคกระเพาะอาหาร แนะนำให้ใช้ยาแอสไพรินร่วมกับยาลดกรด
  • ไม่ควรหักแบ่งยา เพราะตัวยาที่ถูกเคลือบไว้จะถูกปลดปล่อยออกมาและระคายเคืองกระเพาะอาหาร
  • หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างรับประทานยาแอสไพริน เนื่องจากเพิ่มความเสี่ยงของอาการเลือดออกผิดปกติ
  • ห้ามใช้ในผู้ป่วยที่แพ้ยาแอสไพริน และแพ้ยาอื่น ๆ ในกลุ่ม NSAIDs
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพรินในผู้ป่วยโรคหืด เพราะยาจะไปหดหลอดลม ส่งผลให้โรคหืดกำเริบ
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพรินในสตรีมีครรภ์ โดยเฉพาะไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เนื่องจากส่งผลต่อทารกในครรภ์

อาการข้างเคียงของการใช้ยาแอสไพริน

  • คลื่นไส้ อาเจียน ปวดมวนท้อง
  • ระคายเคืองกระเพาะอาหาร แผลในทางเดินอาหาร
  • หลอดลมตีบ โรคหืดกำเริบ
  • เลือดออกผิดปกติ
  • ผื่นลมพิษ

ยาแอสไพริน ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้จริงหรือ?

จากกลไกการออกฤทธิ์ของยาแอสไพรินที่มีคุณสมบัติต้านการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือด พบข้อมูลการศึกษาทางคลินิกว่า สามารถใช้ป้องกันการกลับเป็นซ้ำของ โรคหลอดเลือดสมอง ได้

 

ข้อมูลจาก

ภญ.พรชนก สายเชื้อ

เภสัชกรรมคลินิก

ฝ่ายเภสัชกรรม

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล

 

อย่าลืมกดติดตามช่อง Rama Channel ที่น่าสนใจอีกมากมายได้ที่ 

Website: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/

Website Rama mahidol : https://www.rama.mahidol.ac.th/

Facebook: https://www.facebook.com/ramachannel

Line: https://page.line.me/ramathibodi

Tiktok: https://www.tiktok.com/@ramachanneltv

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง การ ฉีดอินซูลินด้วยตัวเอง เป็นวิธีการรักษาที่แพทย์แนะนำให้แก่ผู้ป่วย โรคเบาหวาน เพราะจะสามารถช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดได้
การฉีดอินซูลินด้วยตัวเอง เป็นวิธีการรักษาที่แพทย์แนะนำให้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานเพราะจะสามารถช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำตาลในเลือดได้
บทความสุขภาพ
24-04-2024

1

ภาวะขาดน้ำ ที่ผู้สูงอายุต้องระวัง ยิ่งในช่วงหน้าร้อน อากาศแห้งทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำได้ง่าย จะมีวิธีป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ได้อย่างไร มาทำความเข้าใจเพื่อนำไปป้องกันก่อนจะเกิดภาวะนี้กับร่างกาย
บทความสุขภาพ
24-04-2024

7

บทความ เรื่อง ไส้ติ่งอักเสบ อาการเริ่มต้น จะมีอาการ ปวดท้องข้างขวา แบบเฉียบพลันที่ไม่สามารถหายเองได้ หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจเกิดภาวะที่อันตรายถึงชีวิตได้
ไส้ติ่งอักเสบ จะมีอาการเริ่มต้นคือปวดท้องข้างขวาแบบเฉียบพลันที่ไม่สามารถหายเองได้ หากปล่อยไว้ไม่รีบรักษาอาจเกิดภาวะที่อันตรายถึงชีวิตได้
บทความสุขภาพ
18-04-2024

2

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

4