“ยาแก้อักเสบ = ยาฆ่าเชื้อจริงหรือ?”
ยาแก้อักเสบ เป็นยาที่มีฤทธิ์ในการลดการอักเสบ แก้ปวด รวมทั้งยังมีฤทธิ์ในการลดไข้เช่น แอสไพริน ไดโคลฟิแนค และไอบรูโพนเฟน เป็นต้น ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรค ไม่ว่าจะเป็นเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อไวรัส
ยาแก้อักเสบใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดและอาการอักเสบ ได้แก่
ปวดหลัง ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ อาการเคล็ดขัดยอก เส้นเอ็นอักเสบ และกล้ามเนื้ออักเสบ เนื่องจากอาการอักเสบส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย แต่เกิดจากสาเหตุอื่น เช่น ปวดเข่าจากโรคข้อเข่าเสื่อม การอักเสบของข้อจากโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง หรือ กล้ามเนื้ออักเสบจากการยกของหนัก
ส่วนยาฆ่าเชื้อเป็นยาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคต่างๆ ได้แก่
เชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ยาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เช่น เพนนิซิลิน และอะม็อกซีซิลิน ไม่มีฤทธิ์แก้ปวด หรือลดการอักเสบ ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัส ใช้รักษาโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น เช่น ตอมทอนซิลอักเสบเป็นหนอง มีปัสสาวะแสบขัดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น
ดังนั้น หากเรียกยาฆ่าเชื้อว่า ยาแก้อักเสบจะทำให้เข้าใจผิด คิดว่ายาฆ่าเชื้อสามารถรักษาอาการอักเสบได้ทุกชนิด หรือในทางกลับกันที่คิดว่ายาแก้อักเสบสามารถฆ่าเชื้อโรคได้ จะทำให้ใช้ยาผิดประเภทหรือรักษาโรคผิดได้
ข้อมูลจาก
ศ. พญ.ศศิโสภิณ เกียรติบูรณกุล
สาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล