05
หน้าแรก
ยาลดน้ำหนักเป็นยาอันตราย และไม่มีจำหน่ายทั่วไป
ยาลดน้ำหนักเป็นยาอันตราย และไม่มีจำหน่ายทั่วไป

ยาลดน้ำหนักแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ

1. กลุ่มแรก คือ ออกฤทธิ์ที่สมอง

ยับยั้งเรื่องของความอยากอาหาร ทำให้ผู้ที่ทานยาเข้าไปไม่รู้สึกอยากจะทานอะไร ซึ่งในสมัยก่อนจะใช้ “แอมเฟตามีน” เป็นส่วนผสม ปัจจุบันพบได้ในยาเสพติดและพิสูจน์แล้วว่ามีผลเสียต่อร่างกายมากมาย หลังจากนั้นก็มีการผลิตอนุพันธุ์ของยาในกลุ่มนี้ออกมาหลายตัวและถูกถอนออกจากตลาดจนเหลือเพียง 1 ชนิดเท่านั้น เพราะพบว่ามีผลต่อหัวใจและหลอดเลือดของผู้ที่ใช้

2. ยาลดน้ำหนักอีกกลุ่ม คือ จะทำหน้าที่ไปยับยั้งการดูดซึมของไขมัน

เมื่อเราทานอาหารที่มีไขมันเข้าไปในร่างกาย ยาก็จะไปดักไขมันเอาไว้และขับถ่ายออกมาจากอุจจาระเป็นมูกลื่น เมื่อรับประทานไปนานๆ ก็จะส่งผลทำให้ขาดวิตามินบางอย่างได้ เพราะไขมันมีส่วนสำคัญในการช่วยดูดซึมของวิตามินบางชนิด ได้แก่ วิตามิน A, D, E, K และรู้หรือไม่ว่าคนเราไม่ได้อ้วนเพราะไขมันเพียงอย่างเดียวเท่านั้น คนเราอ้วนเพราะแป้งและน้ำตาลด้วย

ยาเหล่านี้ถือว่าเป็นยาอันตรายที่ต้องควบคุมการใช้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิดและไม่มีจำหน่ายทั่วไปตามร้านขายยาหรืออินเตอร์เน็ต

ยาลดน้ำหนักในทางการแพทย์มีอยู่จริง แต่แพทย์จะ “ไม่ใช้เป็นตัวเลือกหลัก” ในการรักษา

เพราะยาเหล่านี้ถือว่ามีผลค้างเคียงที่อันตรายอยู่มาก แพทย์จะใช้กับคนไข้ที่เป็นโรคอ้วน โรคประจำตัวอื่นๆ และไม่สามารถลดน้ำหนักด้วยวิธีปกติได้แล้ว การที่เราจะทราบว่าเราเป็นโรคอ้วนหรือไม่ทำได้โดยการ “วัดดัชนีมวลกาย” แล้วเกินค่าที่กำหนด ไม่ใช่ว่าน้ำหนักเราขึ้นแล้วจะแปลว่าเราเป็นโรคอ้วน

แพทย์จะรักษาโดย

การแนะนำให้คนไข้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคและการใช้ชีวิตก่อนเป็นอย่างแรก เพราะหากแพทย์ให้ยาลดน้ำหนักแต่คนไข้ไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม นอกจากผลข้างเคียงที่จะได้รับแล้ว ยังมีโอกาสจะกลับมาอ้วนมากกว่าเดิมได้หรือที่เราเรียกว่า Yoyo Effect

ยาลดน้ำหนักถือเป็นยาอันตรายที่แพทย์ย้ำว่าต้องระวังอย่างมาก ไม่สามารถใช้ได้ตามอำเภอใจ เพราะมีข้างเคียงถึงชีวิตได้เลยทีเดียว ซึ่งปัจจุบันเราก็พบเห็นได้บ่อยๆ ที่มีคนเสียชีวิตจากการใช้ยาลดน้ำหนักที่ไม่ได้สั่งจ่ายโดยแพทย์

 

ข้อมูลจาก
อ. นพ.ธเนศ แก่นสาร
ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “รายการพบหมอรามา | Rama Update เตือนภัย! ยาลดน้ำหนัก อันตรายถึงชีวิต” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง เลี่ยง ปัจจัยเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง หรือ ความดันเลือด สูง
ความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่ไม่แสดงอาการชัดเจนทำให้หลายคนไม่รับรู้ถึง ปัจจัยเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้นควรศึกษาความรู้เพื่อเลี่ยงการเกิดโรคนี้ในอนาคต
บทความสุขภาพ
27-03-2024

5

smiling depression คือ อาการ รอยยิ้ม โรคซึมเศร้า
รอยยิ้ม บนใบหน้าที่เป็นการแสดงความรู้สึกที่มีความสุข แต่ภายในจิตใจกลับทุกข์ไม่มีความสุข อาการแบบนี้อาจเสี่ยงเป็นภาวะ Smiling Depression
บทความสุขภาพ
21-03-2024

9

พยาธิในปอด อาการ รักษา โรคพยาธิใบไม้ในปอด อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ
อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ เป็นอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงให้สุกตามสุขอนามัย สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายทำให้เสี่ยงกับการเป็น โรคพยาธิใบไม้ในปอด ได้
บทความสุขภาพ
20-03-2024

2

ไข้หวัดใหญ่อาการ รักษา ไข้หวัดใหญ่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ุ A
“ไข้หวัดใหญ่” เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบได้บ่อยในประเทศไทย โดยสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปีแต่ช่วงที่เกิดการระบาดมากที่สุดคือช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว
บทความสุขภาพ
20-03-2024

8