02
หน้าแรก
มารู้จักฟันคุดกันเถอะ
มารู้จักฟันคุดกันเถอะ

 

ฟันคุด (Impacted tooth, Wisdom tooth) คือ

ฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาทางช่องปากได้ตามปกติ ซึ่งอาจจะไม่ขึ้นมาเลยหรือขึ้นมานิดหน่อย ไม่เต็มซี่เนื่องจากมีฟันซี่อื่นมาขวางไว้ โดยส่วนมากมักจะเกิดกับฟันกรามล่างซี่ที่สาม (Third molar) จนคนทั่วไปมักคิดว่าฟันคุดเกิดได้แต่กับฟันซี่นี้ แต่ในความเป็นจริงแล้วฟันคุดสามารถเกิดกับฟันซี่อื่นได้ด้วย เช่น ฟันเขี้ยว (Canine) ฟันกรามน้อย (Premolar)

เราสามารถแบ่งชนิดของฟันคุดได้ง่ายๆ โดยดูจากความสัมพันธ์กับฟันข้างเคียง

  • โดยฟันคุดที่หันส่วนครอบฟัน (Crown) เข้าหาฟันกรามแท้ซี่ที่สองเราเรียกว่า Mesioangular impaction หรือ Mesial impaction ซึ่งเป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด
  • ถ้าหันส่วนครอบฟันออกเราเรียกว่า Distoangular impaction หรือ Distal impaction
  • ถ้าฟันคุดนั้นสามารถขึ้นได้ตรงๆ เราเรียกว่า Vertical impaction
  • ถ้าฟันคุดนั้นขึ้นในแนวนอนเราเรียกว่า Horizontal impaction

นอกจากนี้ เรายังสามารถแบ่งตามความสัมพันธ์กับเหงือกที่คลุมฟันได้โดย

  • ฟันคุดที่ไม่สามารถโผล่พ้นกระดูกขากรรไกรได้เราเรียกว่า Bony impaction
  • ฟันคุดที่สามารถโผล่พ้นกระดูกขากรรไกรได้แต่ไม่สามารถทะลุผ่านเหงือกได้เลย หรือสามารถผ่านได้บางส่วนเราเรียกว่า Soft tissue impaction

ทำไมเราต้องผ่าฟันคุด ไม่ต้องผ่าฟันคุดได้ไหมคำถามยอดฮิตที่ทันตแพทย์มักจะโดนถามเป็นประจำ

และคำตอบที่ทันตแพทย์มักจะให้ก็คือควรจะผ่าตัดออก เนื่องจากบริเวณที่เป็นฟันคุดมักจะทำความสะอาดได้ยาก มักจะมีเศษอาหารสะสมอยู่ที่ช่องว่างระหว่างฟันคุดกับฟันซี่ข้างเคียง ทำให้เหงือกที่คลุมฟันอักเสบได้ (Pericoronitis) และยังทำให้ฟันซี่ข้างเคียงผุหรือเป็นโรคเหงือกได้ด้วย

นอกจากนี้ฟันคุดยังอาจทำให้เกิดปัญหาฟันล้มเก ปัญหาการละลายตัวของรากฟันข้างเคียง และยังอาจทำให้เกิดถุงน้ำหรืออันมีสาเหตุจากฟันได้ด้วย

การผ่าตัดฟันคุดมีผลอย่างไร เป็นอีกหนึ่งอย่างที่คนไข้ควรรู้ โดยผลของการผ่าตัดฟันคุดมีหลายอย่าง เช่น

อาการปวด บวม อักเสบบริเวณแผลผ่าตัด ซึ่งคล้ายคลึงกับการผ่าตัดเล็กโดยทั่วไปซึ่งอาการเหล่านี้จะค่อยๆ ดีขึ้นได้เอง แต่มีสิ่งที่แตกต่างคือ บางครั้งการผ่าตัดฟันคุดอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคืออาการชาบริเวณ ริมฝีปากล่างและคาง ซึ่งเหมือนกับตอนที่ทันตแพทย์ฉีดยาชาให้ อาการดังกล่าวนี้เป็นผลจากการบาดเจ็บของเส้นประสาทที่มาเลี้ยงฟันในขากรรไกรล่าง (Inferior alveolar nerve) ซึ่งบางครั้งพบว่าเส้นประสาทนี้อยู่ใกล้ชิดกับฟันคุดมากจนไม่สามารถแยกออกจากกันได้

อาการชานี้อาจคงอยู่เป็นวัน เดือน หรือเป็นปีขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของการบาดเจ็บต่อเส้นประสาท แต่อาการชานี้จะไม่รบกวนต่อการดำรงชีวิต หรือการรับรู้รสชาติอาหารแต่อย่างใด เพื่อหลีกเลี่ยงอาการชาดังกล่าว ทันตแพทย์จึงมักแนะนำให้ผ่าตัดฟันคุดออกในวัยรุ่น อายุประมาณ 18-25 ปี เนื่องจากรากฟันจะยังไม่ยาวจนไปชิดกับเส้นประสาทดังกล่าว

 

ข้อมูลจาก
ทพญ.ธนพร ทองจูด
งานทันตกรรม
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5