บทความ เรื่อง มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็ง ที่พบได้มากเป็นอันดับ 8 ของโลกและเป็นมะเร็งที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกอะไรคือปัจจัยเสี่ยงและมีวิธีการรักษาในรูปแบบใดบ้าง
หน้าแรก
มะเร็งหลอดอาหาร ต้องรู้ ก่อนจะเป็น !

มะเร็งหลอดอาหาร ต้องรู้ ก่อนจะเป็น !

มะเร็งหลอดอาหาร เป็น มะเร็ง ที่พบได้มากเป็นอันดับ 8 ของโลก และเป็นมะเร็งที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกมากเป็นอันดับ 6 อะไรคือปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งชนิดนี้ และปัจจุบันมีวิธีการรักษาในรูปแบบใดบ้าง

บทความ เรื่อง มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็ง ที่พบได้มากเป็นอันดับ 8 ของโลกและเป็นมะเร็งที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกอะไรคือปัจจัยเสี่ยงและมีวิธีการรักษาในรูปแบบใดบ้าง

มะเร็งหลอดอาหาร คืออะไร

โรคมะเร็งหลอดอาหาร เป็น มะเร็ง ในระบบทางเดินอาหารที่พบได้บ่อย เกิดขึ้นบริเวณหลอดอาหาร ซึ่งเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ลำเลียงอาหารและของเหลวตั้งแต่คอลงไปยังกระเพาะ

คนไทยเป็นมะเร็งหลอดอาหารมากแค่ไหน

จากสถิติโรคมะเร็งในประเทศไทย มีจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งหลอดอาหารประมาณ 3,400 คน/ปี และมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งหลอดอาหารประมาณ 3,200 คน/ปี (ข้อมูลปี 2022) ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอายุ 55-65 ปี และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

บทความ เรื่อง มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็ง ที่พบได้มากเป็นอันดับ 8 ของโลกและเป็นมะเร็งที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกอะไรคือปัจจัยเสี่ยงและมีวิธีการรักษาในรูปแบบใดบ้าง

อาการของมะเร็งหลอดอาหาร

กลืนติด กลืนลำบาก เบื่ออาหาร น้ำหนักลด คนไข้บางรายอาจมีเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบนได้ 

4 พฤติกรรมเพิ่มความเสี่ยง มะเร็งหลอดอาหาร ?

สารพัดความเชื่อที่ว่ากันว่าทำให้เสี่ยงมะเร็งหลอดอาหาร ความเชื่อเหล่านี้จริงเท็จแค่ไหน

ความเชื่อที่ 1 เป็นโรคกรดไหลย้อน ปล่อยไว้ไม่รักษา

ความเชื่อนี้จริง เพราะกรดไหลย้อนทำให้เยื่อบุหลอดอาหารอักเสบ แล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงชนิดของเซลล์ขึ้น จากเซลล์ปกติที่มีลักษณะคล้ายผิวหนังกลายเป็นเซลล์ที่ผิดปกติ หน้าตาคล้ายลำไส้ หากปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ จะเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งหลอดอาหารได้ถึง 30-60 เท่าเมื่อเทียบกับคนปกติ เมื่อเป็นกรดไหลย้อนระยะเริ่มต้น คนไข้จะมีอาการอืดแน่นท้อง เรอเปรี้ยว ขมในคอ แต่หากปล่อยไว้จนกระทั่งเป็นมะเร็งหลอดอาหารมักจะมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น กลืนติด กลืนลำบาก เบื่ออาหาร น้ำหนักลด 

ความเชื่อที่ 2 สูบบุหรี่

ความเชื่อนี้จริง ไม่เฉพาะบุหรี่เท่านั้นที่เพิ่มความเสี่ยง มะเร็งหลอดอาหาร แต่การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก็เป็นอีกปัจจัยเสี่ยงเช่นกัน ในบุหรี่มีสารก่อมะเร็งหลายชนิดที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุให้เซลล์เกิดการแบ่งตัวผิดปกติ ส่วนเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก็เป็นพิษต่อเซลล์จึงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่มะเร็งได้ในหลายอวัยวะ หากเป็นไปได้ควรลด ละ เลิกบุหรี่และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว

ความเชื่อที่ 3 กินอาหารร้อน ๆ

ความเชื่อนี้ยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัด โดยปกติการกินอาหารร้อนอาจทำให้เยื่อบุทางเดินอาหารเกิดการอักเสบ และอาจก่อมะเร็งได้ การศึกษาจำนวนมากพบว่าคนไข้ มะเร็งหลอดอาหาร มีประวัติกินของร้อน หรือเครื่องดื่มร้อน ๆ มากกว่าคนที่ไม่ได้เป็นมะเร็งชนิดนี้ และด้วยวิถีชีวิตที่เร่งรีบในปัจจุบันบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปจึงกลายเป็นอาหารที่หลายคนเลือกกินเพื่อประหยัดเวลา ซึ่งโดยปกติมักจะกินตอนร้อน ๆ อย่างไรก็ตาม ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าการกินอาหารร้อนเป็นปัจจัยของมะเร็งชนิดนี้จริงหรือไม่ จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป

ความเชื่อที่ 4 กินอาหารสำเร็จรูป

ความเชื่อนี้ยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัด เพราะยังไม่มีข้อมูลที่มากพอแม้ว่าในความเป็นจริงอาหารแปรรูปอาจทำให้เกิดการอักเสบตามอวัยวะต่าง ๆ รวมถึงอวัยวะในระบบทางเดินอาหาร แต่ปัจจุบันยังไม่พบความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งหลอดอาหารที่ชัดเจน อย่างไรก็ตาม เราควรกินอาหารที่มีประโยชน์ สุก สะอาด ในปริมาณที่พอดี หลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง

สามารถรับชมข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องมะเร็งหลอดอาหารได้ที่ – ยิ่งทำยิ่งเสี่ยง ! โรคมะเร็งหลอดอาหาร – Health Hack

ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งหลอดอาหาร

นอกจากการสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และการเป็นโรคกรดไหลย้อนจะเป็นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งชนิดนี้แล้ว อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ คือ ความอ้วน เพราะความอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคกรดไหลย้อนที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งหลอดอาหาร อีกทั้งความอ้วนยังเกิดจากพฤติกรรมของคนเราที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การกินอาหารหวาน มันมากขึ้น การใช้ชีวิตที่เร่งรีบ ไม่ออกกำลังกาย

การตรวจวินิจฉัย มะเร็งหลอดอาหาร 

การตรวจวินิจฉัยโรคสามารถทำได้หลายวิธี 

  • การส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร เป็นการส่องกล้องเข้าไปทางปาก เพื่อตรวจดูบริเวณหลอดอาหาร หากพบความผิดปกติ หมอจะตัดชิ้นเนื้อแล้วส่งตรวจในห้องปฏิบัติการต่อไป
  • การกลืนแป้งแบเรียม คนไข้ต้องกลืนแป้งแบเรียมเข้าไป เป็นสารทึบรังสีที่ทำหน้าที่เคลือบผนังส่วนต่าง ๆ ของอวัยวะ แล้วเอกซเรย์ระบบทางเดินอาหารส่วนต้น ตั้งแต่บริเวณลำคอ หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ไปจนถึงส่วนต้นของลำไส้เล็ก เพื่อหาความผิดปกติต่าง ๆ
  • การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) เป็นการตรวจที่ช่วยให้หมอเห็นตำแหน่งของโรค และการกระจายของโรคได้ละเอียดกว่าการเอกซเรย์ธรรมดา เพราะเป็นการแสดงภาพแบบ 3 มิติ

การรักษามะเร็งหลอดอาหาร

ปัจจุบันมีการรักษาอยู่ 3 วิธี หมอจะเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมกับระยะของโรค และสภาพร่างกายของคนไข้ ดังนี้

  • การผ่าตัด สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การผ่าตัดนำเนื้องอกที่มีขนาดเล็กมากออกไป การผ่าตัดหลอดอาหารออกบางส่วน และการผ่าตัดต่อหลอดอาหารกับกระเพาะอาหาร แต่วิธีนี้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ติดเชื้อ มีภาวะเลือดออก หรือเลือดไหลจากจุดที่ผ่าตัดเข้าสู่กระเพาะอาหาร
  • การทำเคมีบำบัด อาจใช้ก่อนหรือหลังการผ่าตัด สามารถใช้รักษาร่วมกับการฉายแสง หรืออาจรักษาด้วยเคมีบำบัดอย่างเดียว หากคนไข้เป็นมะเร็งระยะลุกลาม และไม่สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัด
  • การฉายแสง เป็นการรักษาด้วยรังสีพลังงานสูง สามารถใช้บรรเทาภาวะแทรกซ้อนของคนไข้ที่มะเร็งลุกลาม แต่การรักษาด้วยวิธีนี้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ผิวหนังสีเข้มขึ้น ปวดขณะกลืนอาหาร กลืนลำบาก และอวัยวะใกล้อาจเคียงเกิดความเสียหาย

คำแนะนำในการดูแลสุขภาพให้ห่างไกล มะเร็งหลอดอาหาร

การดูแลรูปร่างให้สมส่วน ให้มีน้ำหนักตัวที่พอดี ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ปรับพฤติกรรมการกินอาหาร หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และไม่สูบบุหรี่จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งชนิดนี้ได้

แม้มะเร็งหลอดอาหารจะเป็นมะเร็งที่พบได้มากในทั่วโลก แต่ปัจจัยสำคัญของโรคนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของคนเรา ซึ่งหากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสียใหม่ และรีบพบหมอแพทย์ทันทีเมื่อสังเกตเห็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกายก็จะช่วยลดความเสี่ยงของโรค และเพิ่มโอกาสในการรักษาได้อย่างทันท่วงที 

 

ข้อมูลจาก

อ. พญ.ธีรดา ศิริปุณย์ 

สาขาวิชามะเร็งวิทยา 

ภาควิชาอายุรศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 

อย่าลืมกดติดตามช่อง Rama Channel ที่น่าสนใจอีกมากมายได้ที่ 

Website Ramathibodi: https://www.rama.mahidol.ac.th/

Youtube: https://www.youtube.com/RamachannelTV

Facebook : https://www.facebook.com/ramachannel

Line: https://page.line.me/ramathibodi

Tiktok: https://www.tiktok.com/@ramachanneltv

บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาแก้อักเสบVSยาฆ่าเชื้อ เหมือนหรือต่าง
ยาแก้อักเสบช่วยลดการอักเสบในร่างกาย ส่วนยาฆ่าเชื้อใช้กำจัดแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของการติดเชื้อ ทั้งสองชนิดทำงานต่างกันและใช้ในกรณีที่ต่างกัน
บทความสุขภาพ
01-12-2024

1

โรคฝีดาษลิง ไวรัสอันตรายจากลิงสู่คน
โรคฝีดาษลิงเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่แพร่จากสัตว์สู่คน มีอาการไข้ ผื่นตุ่มหนอง และปวดเมื่อย พบมากในพื้นที่ที่มีการสัมผัสสัตว์ป่าโดยตรง
บทความสุขภาพ
30-11-2024

3

โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร อาการ สาเหตุ การป้องกัน
มะเร็งกระเพาะอาหารเกิดจากพฤติกรรมการกินและปัจจัยทางพันธุกรรม อาการเริ่มต้นไม่ชัดเจน ควรตรวจสุขภาพและปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยง
บทความสุขภาพ
29-11-2024

1

ภาวะเบาหวานขึ้นตา อันตรายถึงตาบอดตลอดชีวิต
เบาหวานขึ้นตาเกิดจากน้ำตาลในเลือดสูงทำลายหลอดเลือดในจอประสาทตา เสี่ยงตาบอดถาวร ควรตรวจตาและควบคุมน้ำตาลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
บทความสุขภาพ
28-11-2024

-28