9มะเร็งช่องปาก
หน้าแรก
"มะเร็งช่องปาก" เกิดขึ้นได้อย่างไร

"มะเร็งช่องปาก" เกิดขึ้นได้อย่างไร

มะเร็งช่องปากเป็นอีกหนึ่งโรคที่อันตรายถึงชีวิต และมีปัจจัยเสี่ยงจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวันสำหรับคนบางกลุ่ม เกิดในผู้ชายได้มากกว่าผู้หญิง และจะพบมากในกลุ่มคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป

มะเร็งในช่องปากคือ

มะเร็งที่เกิดขึ้นที่ริมฝีปาก มักจะเกิดที่ริมฝีปากล่าง ซึ่งอวัยวะในช่องปากอาจเกิดโรคมะเร็งได้ในทุกตำแหน่ง ได้แก่ ลิ้น กระพุ้งแก้ม ริมฝีปาก เหงือก เพดานปาก พื้นใต้ลิ้น ลิ้นไก่ ต่อมทอนซิล

จากการศึกษาพบว่าปัจจัยบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรค

ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมการสูบบุหรี่และดื่มแอลกฮอล์ จะมีโอกาสเป็นมะเร็งในช่องปากมากกว่าคนปกติถึงประมาณ 15 เท่า รวมถึงการกินหรือเคี้ยวหมากพลู ซึ่งมีสารก่อมะเร็งปะปนอยู่ จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคได้

การะระคายเคืองในช่องปากก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญ

เช่น ฟันแตก ขอบฟันคม ทำให้เกิดการกระแทกอยู่ตลอดเวลา ส่งผลให้เนื้อเยื่อในช่องปากเป็นแผล เมื่อเกิดซ้ำอย่างต่อเนื่อง กลายเป็นแผลเรื้อรัง เนื้อเยื่อบริเวณนั้นอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นมะเร็งได้ วิธีสังเกตการเกิดโรค หากมีรอยโรคสีขาวหรือสีแดงในปาก อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เพราะมีโอกาสเปลี่ยนแปลงไปเป็นมะเร็งในช่องปากได้ โดยการเกิดโรคนี้จะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปทีละน้อย

มะเร็งในช่องปากมีการแพร่กระจายได้ 3 ทาง คือ

การแพร่ไปยังอวัยวะข้างเคียง การแพร่ไปยังต่อมน้ำเหลืองที่คอ และการแพร่กระจายไปยังกระแสเลือด ที่พบบ่อยคือการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปยังต่อมน้ำเหลืองที่คอ แต่ที่พบในกระแสเลือดมีไม่มากนัก ส่วนใหญ่เกิดในคนที่เป็นมากหรือรุนแรง

มะเร็งที่อยู่ด้านหน้าของช่องปากจะเกิดขึ้นช้ากว่ามะเร็งที่อยู่ด้านหลัง

เช่น มะเร็งริมฝีปากจะเกิดช้ากว่ามะเร็งโคนลิ้น สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัด การฉายแสงรังสีหรือเคมีบำบัด มะเร็งในช่องปากอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ โดยมีอัตราการรอดชีวิต 5 ปีถึง 50% การพบเจอมะเร็งในระยะแรกจึงส่งผลดีต่อการรักษา ทางที่ดีควรดูแลรักษาช่องปากให้มากขึ้น ในเรื่องของการทำความสะอาด แปรงฟัน และหมั่นพบทันตแพทย์สม่ำเสมอ เพื่อดูแลรักษาโรคในช่องปากตั้งแต่เริ่มต้น

 

ข้อมูลจาก
ทพญ.ธนพร ทองจูด
ศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล งานทันตกรรม
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “Rama Focus | ทำความรู้จัก มะเร็งช่องปาก” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะการกลืนลำบาก
การที่มีความผิดปกติของการกลืน ไม่ว่าจะเป็นการกลืนน้ำลาย หรือการกลืนอาหาร การรับประทานอาหารแล้วติดคอ หรือรับประทานอาหารแล้วต้องใช้ความพยายาม
บทความสุขภาพ
13-01-2025

0

ติด HIV อาการ สาเหตุ และการป้องกัน
HIV เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเลือด อาการเริ่มแรกคล้ายไข้หวัด หากไม่รักษาอาจกลายเป็นเอดส์ ควรป้องกันด้วยการใช้ถุงยางอนามัยและตรวจสุขภาพเสมอ
บทความสุขภาพ
08-01-2025

0

วิธีฟื้นฟูสมอง กระตุ้นความจำ
อาการของโรคสมองเสื่อม เริ่มแรกจะมีอาการหลงๆ ลืมๆ พูดซ้ำ สับสนแต่ยังคงสามารถสื่อสารและช่วยเหลือตัวเองได้ ในระยะต่อมาจะมีปัญหาในเรื่องของความคิด
บทความสุขภาพ
06-01-2025

25

2-1-1-รหัสลับของคนอยากลดน้ำหนัก
อาหารลดน้ำหนักมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการกินแบบ IF หรือการกินแบบ 2:1:1 แต่ละคนก็จะมีวิธีการควบคุมที่แตกต่างกันออกไป แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ
บทความสุขภาพ
30-12-2024

21