ข้างถนน
หน้าแรก
ผู้ป่วยจิตเวชข้างถนน ก็มีจิตใจ และรักษาได้
ผู้ป่วยจิตเวชข้างถนน ก็มีจิตใจ และรักษาได้

ผู้ป่วยจิตเวช ที่พบอยู่ตามข้างถนน กลายเป็นอีกหนึ่งปัญหาสังคม ที่หลายคนยังคงข้องใจอยู่ในหลาย ๆ ประเด็น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการรักษาว่าสามารถทำได้หรือไม่ หรืออันตรายจากผู้ป่วยกลุ่มนี้ว่ามีมากหรือน้อยแค่ไหน และควรจัดการอย่างไรจึงจะเหมาะสม ครั้งจึงเป็นการนำเสนอเกี่ยวกับข้อมูลการรักษาผู้ป่วยดังกล่าว รวมถึงการปฏิบัติที่เหมาะสมต่อผู้ป่วย ขณะที่หลาย ๆ คนอาจไม่เคยรู้

ลักษณะของผู้ป่วยจิตเวชข้างถนน

ผู้ป่วยจิตเวชข้างถนน มักมีลักษณะที่แตกต่างจากบุคคลทั่วไป ทั้งในเรื่องของการสื่อสาร การดูแลตนเอง และการใช้ชีวิตประจำวัน จากงานวิจัยสำรวจความชุกโรคจิตเวชในกลุ่มคนไร้บ้าน ในเขตกรุงเทพมหานคร พบว่าโรคจิตเวชส่วนใหญ่ที่พบในคนไร้บ้านกลุ่มนี้ คือ โรคจิตเภท รองลงมา คือ โรคซึมเศร้า

อาการของผู้ป่วยจิตเวชข้างถนน

ผู้ป่วยจิตเวชข้างถนน ที่ป่วยด้วย โรคจิตเภท  ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีอาการประสาทหลอน หูแว่ว มีการรับรู้ที่ผิดปกติ ทำให้มีพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากคนทั่วไป เช่น พูดคนเดียว หวาดระแวง บ้าหอบฟาง ฯลฯ รวมถึงมีความสามารถในการดูแลตนเองต่ำลง เช่น ไม่อาบน้ำ สกปรก ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ เป็นต้น เมื่อความสามารถในการดูแลตนเองต่ำลง ก็ทำให้ผู้ป่วยกลายเป็น “คนไร้บ้าน” ในที่สุด ซึ่งเป็นปัญหาสังคมที่สำคัญอีกหนึ่งประการ

การวินิจฉัยโรค

สังเกตตามอาการ รวมถึงซักประวัติผู้ป่วย โดยจะพิจารณาว่าเป็นผู้ป่วยจิตเภท จากอาการหลัก ๆ ได้แก่ หูแว่ว ประสาทหลอน หลงผิด มีการดูแลตัวเองที่ต่ำกว่าคนทั่วไป

การรักษา

  • รักษาด้วยยา เพื่อควบคุมอาการ ไม่ให้ประสาทหลอน หูแว่ว ฯลฯ ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ และจำเป็นต้องทานยาสม่ำเสมอ เพราะ โรคจิตเภท เป็นโรคเรื้อรัง การหยุดยา หรือ ขาดยา ทำให้อาการของโรคกำเริบได้
  • กรณีที่ผู้ป่วยดื้อยา อาจรักษาด้วยการช็อตไฟฟ้า เพื่อปรับสารสื่อประสาทที่เกี่ยวกับความคิดและอารมณ์ให้สมดุลขึ้น

การปฏิบัติที่เหมาะสมต่อผู้ป่วย

  • ญาติควรดูแลให้ผู้ป่วยกินยาต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมอาการไม่ให้กำเริบ
  • กรณีที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่บ้าน ควรสร้างบรรยากาศในบ้านให้อบอุ่น การให้ความรักความเข้าใจ ส่งผลต่อจิตใจของผู้ป่วย ช่วยให้อาการดีขึ้นได้
  • หลีกเลี่ยงการพูดจาด่าทอ เหยียดหยามผู้ป่วย เนื่องจากการพฤติกรรมดังกล่าวส่งผลให้โรคกำเริบได้
  • หากพบผู้ป่วยจิตเวชข้างถนน (คนไร้บ้าน) สามารถแจ้งเรื่องไปยังช่องทางที่เปิดรับความช่วยเหลือได้ เช่น มูลนิธิกระจกเงา

 

ข้อมูลโดย
ผศ. พญ.ทานตะวัน อวิรุทธ์วรกุล
จิตแพทย์ สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ ““โครงการผู้ป่วยข้างถนน” โดย “มูลนิธิกระจกเงา” : พบหมอรามา ช่วง Rama Health Talk 16 พ.ย.61(4/6)” ได้ที่นี่

คลิกชมคลิปรายการ “การรักษา“ผู้ป่วยจิตเวชข้างถนน” เพื่อคุณภาพชีวิต : พบหมอรามา ช่วง Rama Health Talk 16 พ.ย.61(5/6)” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

97_หลอดเลือดหัวใจตีบ-อาการเริ่มต้นโรคหัวใจที่ต้องรู้ไว้2
หลอดเลือดหัวใจตีบเป็นสัญญาณเตือนโรคหัวใจ ควรสังเกตอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก และรีบพบแพทย์เพื่อตรวจและรักษาทันที
บทความสุขภาพ
05-09-2024

5

บทความ เรื่อง เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
บทความสุขภาพ
23-08-2024

11

การนอนหลับมักมาคู่กับ ความฝัน หากฝันดีตื่นเช้ามาก็สดใสไม่มีเรื่องกังวลอะไร แต่ถ้า ฝันร้าย ก็คงสร้างความวิตกกังวลส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
การนอนหลับมักมาคู่กับ "ความฝัน" หากฝันดีตื่นเช้ามาก็สดใสไม่มีเรื่องกังวลอะไร แต่ถ้า "ฝันร้าย" ก็คงสร้างความวิตกกังวลส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
บทความสุขภาพ
23-08-2024

14

บทความ เรื่อง การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ของ ผู้หญิง
การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) และความเสี่ยงอื่น ๆ ทางระบบสืบพันธ์ุของผู้หญิง
บทความสุขภาพ
22-08-2024

9