รู้ไหมว่าทุกวันนี้ เรานั้นรับสารพิษเข้าสู่ร่างกายกันได้โดยทั้งที่ตั้งใจ และไม่ได้ตั้งใจ เช่น ในบ้าน มีการใช้สบู่ ผงซักฟอก น้ำยาทำความสะอาด หรือสิ่งของต่าง ๆ ที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน การทำไร่นามีการใช้ปุ๋ย และสารเคมีกำจัดแมลง ศัตรูพืช
ซึ่งผู้ป่วยมักจะได้รับสารพิษโดยการหายใจ หรือการสัมผัสทางผิวหนังมากมายหลากหลายความเสี่ยงที่จะทำให้เราได้รับสารพิษ
ฉะนั้นเราควรที่จะเรียนรู้การป้องกัน หรือการระมัดระวังในขณะที่จะต้องทำงานเกี่ยวข้องกับสารต่าง ๆ เพื่อช่วยลดการเกิดอันตราย มีข้อปฏิบัติอะไรบ้าง มาดูกัน
- เก็บยาและสารเคมีที่เป็นอันตรายให้พ้นจากมือเด็ก เก็บในที่มิดชิด หรือในตู้ที่มีกุญแจ
- ทิ้งภาชนะ เช่น กระป๋องสเปรย์ น้ำยาทำความสะอาด และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้หมดแล้วลงในถังขยะที่ปิดมิดชิด หรือนำใส่ถุงมัดให้แน่นก่อนทิ้งถังขยะ
- ติดฉลากยา หรือสารเคมีต่าง ๆ ให้ชัดเจน เพื่อป้องกันการพลั้งเผลอหยิบสารผิดในขณะที่จะนำไปใช้
- หากต้องทำงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี ควรทำในที่โล่ง อากาศถ่ายเทสะดวก ตลอดจนมีเครื่องป้องกันการได้รับสารพิษ เช่น ถุงมือ แว่นตา ที่ปิดจมูก เป็นต้น
- ไม่ควรหยิบยาในที่มืด หรือขณะง่วงนอน เพราะมีโอกาสพลั้งเผลอที่จะหยิบยาผิดไปใช้ได้
- ไม่นำขนม หรือ ลูกกวาดไว้ในตู้ยา เพราะจะทำให้เด็กเล็กเข้าใจผิดว่า ยาในตู้เป็นขนมสามารถรับประทานได้เหมือนกันหมด
- ให้ความรู้ และการศึกษาถึงพิษภัยของสารเคมี และยาต่าง ๆ ตลอดจนวิธีการแก้ไข และการรักษาอย่างง่ายก่อนนำส่งแพทย์เพื่อรักษาต่อไป
ข้อมูลจาก
ศูนย์พิษวิทยารามาธิบดี
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล