บทความ ธ.ค._๑๗๑๒๐๘_0003
หน้าแรก
ปัญหาเด็กพูดช้า เรื่องที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม
ปัญหาเด็กพูดช้า เรื่องที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม

โดยปกติเมื่อเด็กเกิดมาก็จะมีพัฒนาการทางด้านต่าง ๆ ตามวัย รวมถึงพัฒนาการด้านภาษาและการพูด ซึ่งโดยทั่วไปเด็กจะสามารถพูดได้เมื่ออายุ 2-3 ปี ขณะที่เด็กบางรายในวัยดังกล่าวยังไม่สามารถพูดได้ และนั่นอาจหมายถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการรักษา

พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กตามปกติ เป็นดังนี้

  • ช่วงอายุ 1-4 เดือน ส่งเสียงอ้อแอ้ สนใจเสียงผู้ที่มาคุยด้วย คุ้นเคยกับเสียงคนใกล้ชิด
  • ช่วงอายุ 5-6 เดือน ตอบสนองเมื่อถูกเรียกชื่อ เริ่มหันหาเสียงและเลียนเสียงผู้อื่น
  • ช่วงอายุ 9-12 เดือน เริ่มพูดได้เป็นคำพยางค์เดียว ให้ท่าทางสื่อความหมายร่วมด้วย
  • ช่วงอายุ 1-1.5 ปี มีการโต้ตอบชัดเจน สามารถทำตามคำสั่งได้ เริ่มพูดคำที่มีความหมายได้
  • ช่วงอายุ 1.5-2 ปี พูดได้ 50-80 คำ เริ่มรวมคำ เข้าใจคำสั่งที่ยากขึ้น
  • ช่วงอายุ 2-3 ปี สามารถพูดเป็นประโยคได้ ตอบได้ พูดคุยสื่อสารรู้เรื่องมากขึ้น

พัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กที่ผิดปกติ เป็นดังนี้

  • ช่วงอายุ 6-10 เดือน ไม่ส่งสัญญาณการพูด ไม่หันมาตามเสียง ไม่เลียนแบบ
  • ช่วงอายุ 15 เดือน ไม่สามารถทำตาม ไม่เข้าใจคำสั่งง่าย ๆ ยังไม่พูดคำแรก และไม่มีภาษาทางกาย
  • ช่วงอายุ 1-2 ปี ไม่เริ่มการสื่อสารและไม่เข้าใจคำถามหรืออาจจะพูดไม่หยุด แต่ไม่สื่อสารในเรื่องเดียวกัน
  • ช่วงอายุ 3 ปี ไม่บอกความต้องการ ไม่เข้าใจและไม่เคยใช้ประโยคคำถาม หรืออาจจะพูดเป็นภาษาสคริปต์ ที่ไม่ใช่ภาษาของเด็กวัยเดียวกัน

สาเหตุของความผิดปกติของพัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็ก

  • ความผิดปกติของร่างกาย
  • ความผิดปกติจากโรคทางพันธุกรรม
  • ภาวะออทิสติก
  • พัฒนาทางภาษาผิดปกติ
  • ขาดการกระตุ้นพัฒนาการที่เหมาะสม

ในส่วนของสาเหตุที่ทำให้เด็กมีความผิดปกติของพัฒนาการด้านภาษาและการพูดสามารถตรวจดูตั้งแต่ในครรภ์ได้ หากเกิดจากความผิดปกติจากโรคทางพันธุกรรม ซึ่งจะเป็นการตรวจโครโมโซม แต่ถ้าหากเป็นสาเหตุอื่น อาจต้องรอจนกว่าเด็กจะเกิดมาและแสดงถึงความผิดปกติให้เห็นตามช่วงวัย

การเลี้ยงดูลูกเป็นส่วนสำคัญเช่นกันที่ส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก

เช่น การเลี้ยงลูกด้วยเทคโนโลยี ยกตัวอย่าง การให้เด็กเรียนรู้การสื่อสารจากโทรทัศน์ แท็บเล็ต ฯลฯ สิ่งเหล่านี้อาจไม่ใช่ปัจจัยที่ทำให้เกิดความผิดปกติของพัฒนาการด้านภาษาและการพูดของเด็กโดยตรง แต่ส่งผลต่อการเรียนรู้ของเด็ก ซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับพัฒนาการด้านต่าง ๆ

โดยทั่วไปเด็กวัย 0-7 ปี การเล่นและการสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างมีความสำคัญมาก ซึ่งจะส่งผลให้เด็กเรียนรู้การสื่อสาร การตอบสนอง ทั้งยังส่งผลต่อพัฒนาการด้านอารมณ์ความรู้สึกได้เป็นอย่างดี หากเด็กขาดการเล่นจะส่งผลต่อพัฒนาการในทุกด้าน ดังนั้นแนวทางการรักษาจึงมุ่งเน้นให้เด็กรู้จักเล่นและมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างเป็นหลัก เพื่อฝึกฝนทักษะด้านต่าง ๆ รวมถึงการพูดและการสื่อสาร จากนั้นแพทย์จะทำการประเมินระดับของพัฒนาการเด็ก เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการด้านต่าง ๆ ต่อไปตามลำดับ ในการรักษานอกจากแพทย์แล้วผู้ปกครองยังมีความสำคัญมาก ขณะที่เด็กอยู่บ้านพ่อแม่จึงจำเป็นต้องให้ความร่วมมือในการเสริมสร้างพัฒนาการเด็กร่วมด้วย

โอกาสที่เด็กจะสามารถพูดได้เหมือนคนปกติหลังการรักษา

ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ทำให้เด็กมีความผิดปกติในพัฒนาการด้านภาษาและการพูด แต่โดยทั่วไปแพทย์จะทำการรักษาไปตามหลักการ ซึ่งเป็นพื้นฐานการรักษาทั่วไป ซึ่งไม่สามารถการันตีได้ว่าผลลัพธ์ที่ออกมาจะเหมือนกันทุกราย

ยกตัวอย่าง หากเด็กมีความผิดปกติในเรื่องของการได้ยิน แพทย์อาจทำการใส่เครื่องช่วยฟังหรือผ่าตัดหูชั้นในเทียมให้เด็ก จากนั้นจะทำการฝึกพัฒนาการร่วมด้วยตามลำดับ อาจช่วยให้เด็กมีพัฒนาการตามวัยได้ แต่ถ้าหากเด็กมีความผิดปกติทางด้านสมอง แพทย์ก็จะทำการฝึกพัฒนาการให้ตามหลักการเช่นกัน แต่หลังการรักษาเด็กอาจไม่สามารถพูดได้เหมือนคนปกติ แต่อาจสื่อสารได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น

ทั้งนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเฝ้าสังเกตเด็กอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมินว่าเด็กมีพัฒนาการตามวัยหรือไม่ หากพบความผิดปกติควรรีบพาเด็กพบแพทย์ให้เร็วที่สุด ก็จะช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

ข้อมูลจาก
อาจารย์นิตยา เกษมโกสินทร์
ภาควิชาวิทยาศาสตร์สื่อความหมายและความผิดปกติของการสื่อความหมาย
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “ทำอย่างไรถ้าลูก”พูดช้า” : RAMA Square ช่วง Daily Expert” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

การนอนหลับมักมาคู่กับ ความฝัน หากฝันดีตื่นเช้ามาก็สดใสไม่มีเรื่องกังวลอะไร แต่ถ้า ฝันร้าย ก็คงสร้างความวิตกกังวลส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
การนอนหลับมักมาคู่กับ "ความฝัน" หากฝันดีตื่นเช้ามาก็สดใสไม่มีเรื่องกังวลอะไร แต่ถ้า "ฝันร้าย" ก็คงสร้างความวิตกกังวลส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
บทความสุขภาพ
23-08-2024

11

บทความ เรื่อง การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ของ ผู้หญิง
การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) และความเสี่ยงอื่น ๆ ทางระบบสืบพันธ์ุของผู้หญิง
บทความสุขภาพ
22-08-2024

7

หลงลืม บ่อย สับสน หลงทาง อาการปกติในวัยผู้สูงอายุที่เป็นสัญญาณของ โรคสมองเสื่อม ซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
หลงลืม บ่อย สับสน หลงทาง อาการปกติในวัยผู้สูงอายุที่เป็นสัญญาณของโรคสมองเสื่อมซึ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
บทความสุขภาพ
21-08-2024

8

ภาวะ PMS อาการผิดปกติที่เกิดขึ้น ก่อนมีประจำเดือน เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิงตอนมี ประจำเดือน ส่งผลทั้งด้านสุขภาพกายและจิตใจ
ภาวะ PMS อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือน เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิงตอนมีประจำเดือน ส่งผลทั้งด้านสุขภาพกายและจิตใจ
บทความสุขภาพ
20-08-2024

22