บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
หน้าแรก
ปวดขมับหรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ?
ปวดขมับหรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ?

อยู่ ๆ ก็มีอาการ ปวดขมับ เหมือนโดนบีบขมับ หลายคนอาจจะคิดว่าก็เป็นอาการปวดหัวธรรมดาทั่วไป แต่รู้หรือไม่อาการแบบนี้อาจเสี่ยงเป็น โรคไต ได้ เนื่องจากอาการ ปวดศีรษะ เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้บ่อยมากที่สุดในปัจจุบัน และสาเหตุของอาการก็มีหลากหลาย ดังนั้นหากมีอาการปวดขั้นรุนแรงต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยพร้อมการรักษาอย่างถูกวิธีโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ทั้งนี้ ยังมีสัญญาณเตือนของอาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการ ปวดขมับ หรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้เช่นกัน วันนี้จะพามาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ ! แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?

โรคไต เกิดจากอะไร ?

โรคไต เกิดจากภาวะของไตที่ทำงานผิดปกติ สามารถเกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย แต่โดยส่วนใหญ่มักพบในวัยผู้สูงอายุ ซึ่งสาเหตุหลักของการเกิดโรค คือ การรับประทานอาหารรสจัด อย่างรสเค็มในปริมาณมากเป็นระยะเวลานาน ๆ เป็นความดันโลหิตสูง นอกจากนี้อาจเกิดจากสาเหตุภายนอกร่วมด้วย การดําเนินชีวิตประจําวันด้วยพฤติกรรมเดิม ๆ  ไม่ออกกำลังกาย กินยาที่เป็นพิษต่อไต สุขภาพร่างกายไม่แข็งแรง พันธุกรรมที่ผิดปกติ และโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน เพราะฉะนั้น โรคไตถือว่าเป็นโรคหนึ่งที่ใครก็ไม่อยากเป็น มาดูกันว่ามีพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบไหนบ้างที่ทำให้เสี่ยงเป็นโรคไตโดยที่เราไม่รู้ตัว – สัญญาณเตือนโรคไต พฤติกรรมเสี่ยงที่ควรเลี่ยง !

5 สัญญาณอันตราย เมื่อ โรคไต ถามหา

สัญญาณเตือนเหล่านี้ เบื้องต้นอาจเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าอาจเสี่ยงเป็นโรคไตควรเฝ้าสังเกตอาการเพื่อสามารถเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที

  • อาการ ปวดศีรษะ ในคนที่อายุน้อย

โดยปกติในคนที่มีอายุน้อยจะค่อนข้างมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง เนื่องจากการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและระบบการทำงานของร่างกายในส่วนอื่น ๆ ยังมีประสิทธิภาพที่ดีอยู่ แต่หากมีพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันที่บกพร่องและไม่ได้ประสิทธิภาพก็สามารถก่อให้เกิดอาการเจ็บป่วยหรือเป็นโรคได้ง่ายขึ้น ดังนั้น หากยังอายุน้อย แต่มีอาการปวดศีรษะอยู่บ่อยครั้ง ทั้งที่ใช้ชีวิตประจำวันปกติและไม่ได้เป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุของการเกิดโรคอื่น ๆ ให้เฝ้าระวังทันทีว่าอาจเป็นสัญญาณแรกเริ่มของการเป็นโรคไตได้

  • ปวดศีรษะบริเวณขมับหรือท้ายทอย

อาการปวดหัวแบบต่าง ๆ มีสาเหตุของการเกิดที่แตกต่างกันออกไป แต่หากตัวเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการปวดศีรษะในบริเวณขมับหรือท้ายทอยบ่อย ๆ ปวดแบบตุบ ๆ นั่นอาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าเข้าข่ายการเป็นโรคไตได้เช่นกัน

  • ความดันเลือดสูงผิดปกติ

ผู้ป่วยโรคไต ส่วนใหญ่จะมีความดันเลือดสูงมากกว่าปกติ ซึ่งคนที่มีความดันเลือดสูงจะไม่แสดงอาการ แต่ในบางรายพบว่ามีอาการปวดหัวและเวียนหัวร่วมด้วย ดังนั้น ควรที่จะพบแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพ และวัดความดันเลือดว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่ เพราะนอกจากจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคไตยังเสี่ยงอันตรายต่อการเกิดโรคร้ายแรงอื่น ๆ ได้อีกด้วย

  • ปัสสาวะผิดปกติ

อาการของการปัสสาวะที่ผิดปกติ เช่น เมื่อปัสสาวะแล้วมีฟองมากเป็นพิเศษ หรือสีของปัสสาวะผิดปกติ ให้วินิจฉัยว่าระบบการทำงานของร่างกายผิดปกติซึ่งเป็นสัญญาณของการเกิดโรคได้

  • ร่างกายบวมและผมร่วง

อาการของผู้ที่ป่วยเป็นโรคไตและสามารถสังเกตได้ชัดเจนมากที่สุดคือ ร่างกายมีอาการบวมผิดปกติโดยเฉพาะบริเวณใบหน้า หลังเท้า ตามมาด้วยสัญญาณผมร่วงมากเกินไป หากเริ่มสังเกตว่าร่างกายมีอาการเหล่านี้บ่อยครั้งและกินระยะเวลานานควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยทันที

สำหรับใครที่มีความสงสัยและกังวลว่าโรคไตกำลังจะมาเยือน สามารถเช็คความเสี่ยงด้วยตัวเองได้ที่แบบสอบถามนี้ – ติดกินเค็ม รสจัด เช็กด่วนคุณเสี่ยงเป็นโรคไตหรือยัง ?

อาการของ โรคไต เป็นอย่างไร

โรคไตทำให้เกิดการเสียสมดุลของเกลือ เมื่อคนไข้กินเค็มจะเกิดอาการบวมที่ขา กดบุ๋ม ปัสสาวะมาก ปัสสาวะเปลี่ยนสี ปัสสาวะมีฟองมาก ปัสสาวะมีสีแดง อ่อนเพลีย ไม่มีแรง คลื่นไส้ อาเจียน ความดันเลือดสูง โลหิตจาง ผมร่วง ผิวแห้ง หากเป็นโรคไตระยะสุดท้าย ไตจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ คนไข้จะเกิดอาการอวัยวะล้มเหลว ชัก น้ำท่วมปอด หัวใจวาย เสียชีวิตได้ สำหรับ โรคไต อาการ สามารถแบ่งออกได้ 2 ระยะหลัก ๆ ได้แก่

  1. โรคไตอาการเริ่มต้น

    อาการของผู้ป่วยโรคไตระยะแรก มักมีอาการ ดังนี้

    • ร่างกายอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
    • เหนื่อยง่ายมากกว่าปกติ
    • บางรายอาจมีอาการน้ำหนักลดลงผิดปกติ
    • ผิวหนังแห้งซีดและมีจ้ำเลือดตามร่างกาย
    • เบื่ออาหาร และคลื่นไส้อาเจียน
    • มือเท้าชา ปวดบริเวณบั้นเอว
    • ปวดศีรษะบริเวณขมับหรือท้ายทอย
    • ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
  2. โรคไตระยะสุดท้าย

    อาการของผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้ายมีอาการ ดังนี้

    • ปัสสาวะลดน้อยลงหรือแทบไม่ปัสสาวะเลย
    • เลือดออกหรือเป็นแผลในกระเพาะอาหาร
    • หายใจเองลำบาก
    • กล้ามเนื้อหัวใจเสื่อมและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ
    • ปอดบวมและไอหรืออาเจียนเป็นเลือด
    • มีอาการชักหรือหมดสติบ่อยครั้ง
    • กระดูกแตกหักได้ง่าย
    • เลือดหยุดไหลยาก เนื่องจากการทำงานของระบบเลือดผิดปกติ
    • มีอาการติดเชื้อหรือเกิดโรคแทรกซ้อนได้ง่าย

นอกจากนี้ยังมีอาการที่ควรสังเกตุว่าเสี่ยงเป็นโรคไตหรือไม่ สามารถรับชมความรู้เพิ่มเติมได้ที่ – อาการแบบนี้ เสี่ยง ! เป็นโรคไต

และยังมีความเชื่อผิด ๆ เกี่ยวกับอาการของโรคไตที่อาจจะทำให้เข้าใจผิดได้ เพราะฉะนั้น มาดูกันว่าอาการโรคไตความเชื่อไหนผิด ความเชื่อไหนถูกบ้าง ได้ที่ – อาการโรคไต เรื่องไหนจริงหรือหลอก ? 

 

โรคอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุของโรคไต

โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคเกาต์ โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) โรคทางพันธุกรรม โรคถุงน้ำในไต รวมทั้งการกินยา เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบบางชนิดที่มีพิษต่อไต โดยเฉพาะยาแก้ปวดข้อเอ็นต่าง ๆ

ปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงโรคไต

  • กินอาหารเค็มจัด อาหารหวานจัด 

อาหารเค็มทำให้เกิดความดันเลือดสูง ไตทำงานหนัก ในระยะยาวทำให้เกิดโรคไตเสื่อมเรื้อรังได้ เช่น อาหารที่มีผงชูรส เครื่องปรุงต่าง ๆ พริกน้ำปลา น้ำจิ้ม แจ่ว น้ำซุป บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ขนมกรุบกรอบ อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน ส่วนอาหารหวานอาจทำให้เกิดโรคเบาหวาน ส่งผลให้หลอดเลือดและไตเสื่อมได้

  • ไม่ออกกำลังกาย 

คนที่มีน้ำหนักเกินจะมีความดันเลือดสูง ไตจึงทำงานหนัก 

  • สูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

ทำให้เกิดความดันเลือดสูงและหลอดเลือดเสื่อมได้

  • กินยาที่มีพิษต่อไต

ยาบางชนิดไม่ว่าจะเป็นยาไทย ยาจีน ยาฝรั่ง ยาชุด ยาหม้อ อาหารเสริม อาจมีพิษต่อไตได้ ฉะนั้น คนไข้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการกินยาต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคไตในระยะยาว 

 

วิธีดูแลตัวเองเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วย โรคไต

วิธีดูแลตัวเองเบื้องต้นสำหรับผู้ป่วย โรคไต

โรคไตหากเป็นมาจนถึงระยะเรื้อรังแล้วอาจไม่สามารถทำการรักษาให้หายขาดจากโรคได้แต่สามารถประคองและรักษาให้อาการดีขึ้นได้ ขึ้นอยู่ที่คนไข้ดูแล และรักษาสุขภาพร่างกายของตัวเองได้ดีแค่ไหน ทั้งนี้วิธีการดูแลตัวเองหรือคนรอบข้างเบื้องต้นสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคไต สามารถทำตามได้ ดังนี้

  • ใส่ใจในเรื่องอาหารการกินมากขึ้น ไม่รับประทานอาหารรสจัดเป็นประจำ
  • ไม่ควรหายามารับประทานเองอย่างเด็ดขาด ควรอยู่ในการดูแลและคำแนะนำของแพทย์เป็นหลัก
  • หากมีโรคแทรกซ้อนควรระมัดระวัง และควรทราบถึงวิธีการดูแลอาการของโรคเหล่านั้น
  • รักษาความสะอาดของร่างกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดโอกาสของการติดเชื้อ
  • รู้จักเฝ้าสังเกตความผิดปกติของร่างกาย หากพบว่ามีอาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นควรรีบไปพบแพทย์
  • ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้ง เพื่อรักษาอย่างต่อเนื่อง

การดูแลเบื้องต้นเหล่านี้สามารถทำได้ง่าย ๆ ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไต เพื่อหลีกเลี่ยงและลดอัตราการป่วยที่รุนแรงขึ้นกว่าเดิม ซึ่งสามารถบรรเทาการเกิดโรคแทรกซ้อนและส่งผลให้อาการของโรคดีขึ้นได้

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?

ผู้ที่ป่วยเป็นโรคไตควรได้รับการรักษาและทราบถึงวิธีรักษาโรคไตอย่างถูกต้อง นอกจากนี้การรักษาที่ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด คือการเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เช่น แพทย์เฉพาะทางหรืออายุรแพทย์โรคไต 

การเข้ารับรักษาในโรงพยาบาลที่มีประสิทธิภาพก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้การรักษาเป็นไปอย่างดีมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงสิ่งสำคัญอย่างการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ผู้ดูแลอย่างเคร่งครัดเพื่อให้ร่างกายฟื้นฟูและดีขึ้นในที่สุด

 

ข้อปฏิบัติสำหรับคนไข้โรคไต

  1. คนไข้ระยะแรกต้องควบคุมโรคที่เป็นให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง 
  2. กินยาที่หมอให้อย่างสม่ำเสมอ ไม่ซื้อยากินเอง
  3. ดื่มน้ำให้เพียงพอ 
  4. งดอาหารเค็มจัด โดยเฉพาะเครื่องปรุงรส น้ำพริก น้ำจิ้ม ของแปรรูป น้ำแกง อาหารกึ่งสำเร็จรูป 
  5. กินอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ ถั่วต่าง ๆ ควรกินน้อยกว่าคนปกติ 20% จะช่วยชะลอการเสื่อมของไตในระยะยาวได้
  6. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 

เมื่อเป็นโรคไตแล้ว หากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง และดูแลตัวเองดี อาจทำให้ไตทำงานดีขึ้น และไม่เกิดไตเสื่อม ไตวายในระยะยาวได้

 

ข้อมูลจาก

รศ. นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ

สาขาวิชาโรคไต 

ภาควิชาอายุรศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 

มหาวิทยาลัยมหิดล

 

อย่าลืมกดติดตามช่อง Rama Channel ที่น่าสนใจอีกมากมายได้ที่ 

Website Ramathibodi: https://www.rama.mahidol.ac.th/

Youtube: https://www.youtube.com/RamachannelTV

Facebook : https://www.facebook.com/ramachannel

Line: https://page.line.me/ramathibodi

Tiktok: https://www.tiktok.com/@ramachanneltv

บทความที่เกี่ยวข้อง

97_หลอดเลือดหัวใจตีบ-อาการเริ่มต้นโรคหัวใจที่ต้องรู้ไว้2
หลอดเลือดหัวใจตีบเป็นสัญญาณเตือนโรคหัวใจ ควรสังเกตอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก และรีบพบแพทย์เพื่อตรวจและรักษาทันที
บทความสุขภาพ
05-09-2024

5

บทความ เรื่อง เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
บทความสุขภาพ
23-08-2024

11

การนอนหลับมักมาคู่กับ ความฝัน หากฝันดีตื่นเช้ามาก็สดใสไม่มีเรื่องกังวลอะไร แต่ถ้า ฝันร้าย ก็คงสร้างความวิตกกังวลส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
การนอนหลับมักมาคู่กับ "ความฝัน" หากฝันดีตื่นเช้ามาก็สดใสไม่มีเรื่องกังวลอะไร แต่ถ้า "ฝันร้าย" ก็คงสร้างความวิตกกังวลส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
บทความสุขภาพ
23-08-2024

14

บทความ เรื่อง การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ของ ผู้หญิง
การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) และความเสี่ยงอื่น ๆ ทางระบบสืบพันธ์ุของผู้หญิง
บทความสุขภาพ
22-08-2024

9