07
หน้าแรก
ประจำเดือนไม่ใช่เลือดเสีย และสีของประจำเดือนสามารถเปลี่ยนแปลงได้
ประจำเดือนไม่ใช่เลือดเสีย และสีของประจำเดือนสามารถเปลี่ยนแปลงได้

ประจำเดือน คือ

เลือดและเนื้อเยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดออกมาทุกรอบเดือนของผู้หญิง ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นทุก 21-35 วัน แต่ละรอบจะอยู่นาน 3-7 วัน การที่เราต้องมีการสร้างเนื้อเยื่อโพรงมดลูกใหม่เสมอก็เพื่อให้พร้อมต่อการฝังตัวของตัวอ่อน จึงทำให้เกิดวงโคจรของประจำเดือนแบบนี้ขึ้นมา ซึ่งก็จะขึ้นๆ ลงๆ ตามระดับของฮอร์โมนเพศด้วย

หลายคนจะเข้าใจว่าการที่มีประจำเดือน คือ การมีเลือดเสีย

และเมื่อตอนไหนประจำเดือนออกมาน้อย หรือว่านานๆ มีที ก็จะเกิดความกังวลว่าเราจะมีเลือดเสียคั่งในร่างกายหรือปล่าว ซึ่งตรงนี้แพทย์ย้ำมาว่าเป็นเรื่องที่ “ไม่จริง” ประจำเดือนไม่ใช่เลือดเสีย ประจำเดือน คือ เยื่อบุโพรงมดลูกที่ไม่ได้ใช้งานของรอบที่แล้ว เลยลอกหลุดออกมาพร้อมเลือดเท่านั้นเอง

สำหรับบทความของสีประจำเดือนบอกโรคที่เผยแพร่ออกมาในโลกอินเตอร์เน็ตนั้น ต้องบอกว่าเป็นข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง

เพราะโดยปกติสีประจำเดือนก็จะเปลี่ยนไปไม่เหมือนกันในแต่ละครั้งแต่ละเดือนอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับความเก่าใหม่ของเลือดมากกว่า ถ้าหากเลือดออกมาในช่วงต้นๆ ที่จะออกมาเยอะเลือดก็จะเป็นสีแดงสด หากเข้าสู่ช่วงท้ายของประจำเดือนสีก็จะเข้มขึ้น เพราะว่าการไหลของเลือดจะลดลง รวมถึงมีเลือดค้างอยู่ในเยื่อบุโพรงมดลูก เมื่อถึงช่วงระยะเวลาหนึ่ง เมื่อเลือดสัมผัสกับอากาศก็จะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำขึ้นได้

เพราะฉะนั้นช่วงท้ายๆ ของประจำเดือนก็จะมีสีที่เข้มขึ้นได้เป็นเรื่องปกติ เพราะฉะนั้นจึงสรุปได้ว่า สีของประจำเดือนขึ้นอยู่กับปริมาณเลือดและเยื่อบุที่หลุดลอกออกมามากกว่าที่จะไปสัมพันธ์กับโรคอะไรต่างๆ นานาเหล่านั้น

สิ่งที่เราควรสังเกตเกี่ยวกับประจำเดือน คือ

  1. ปริมาณเลือดที่ออก ตามปกติเลือดที่ออกมาจะมีปริมาณไม่มากนัก แต่หากท่านใดพบว่าต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก 2 ชม. อันนี้คือปริมาณเลือดออกมาเยอะจนเกินไปอาจมีความผิดปกติแนะนำให้มาตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับนรีเวช
  2. เลือดที่ออกมามีลักษณะเป็นก้อนเลือด เป็นลิ่มๆ สีแดงสด แดงเข้ม แดงคล้ำ อันนี้อาจเกิดความผิดปกติเช่นกันแนะนำให้มาตรวจกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับนรีเวช
  3. ความสม่ำเสมอของรอบเดือน ที่ต้องมาทุก 21-35 วัน ไม่มาเร็วกว่า 21 วัน หรือมาช้ากว่า 35 วัน

สาเหตุของประจำเดือนที่ผิดปกติอาจเกิดจาก

  1. ความเครียด ความวิตกกังวล
  2. อาหาร การอดอาหาร น้ำหนักที่เพิ่มหรือลดลงเร็วเกินไป
  3. การรับประทานยาคุมกำเนิด
  4. การเจ็บป่วยทางนรีเวช เช่น เนื้องอกในมดลูก ติ่งเนื้อในโพรงมดลูก โรคถุงน้ำในรังไข่ การตั้งครรภ์ ภาวะไข่ล้มเหลวก่อนวัยอันควร

เลือดออกผิดปกติแบบไหนที่ต้องระวังมากเป็นพิเศษ

  1. เลือดออกมากหลังมีเพศสัมพันธ์ เสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูก
  2. ประจำเดือนขาดเกิน 3 เดือน(ไม่ท้อง) เสี่ยงเป็นไข่ไม่ตกเรื้อรัง ไทรอยด์
  3. เลือดออกกระปริดกระปรอย ไม่เป็นรอบ เสี่ยงเป็น มะเร็งปากมดลูก

 

ข้อมูลจาก
อ. พญ.แสงศุลี ธรรมไกรสร
ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “รายการพบหมอรามา | Rama Update สีของ “ประจำเดือน” บอกโรคได้ ชัวร์หรือมั่ว” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

4

บทความ เรื่อง ต่อมน้ำเหลืองโต รู้ได้อย่างไร ? เมื่อ ต่อมน้ำเหลือง บวมหรืออักเสบเป็นอาการที่บอกถึงความผิดปกติ ดังนั้นไม่ควรนิ่งนอนใจหรือปล่อยให้เป็นเรื้อรัง
ต่อมน้ำเหลืองโต รู้ได้อย่างไร ? เมื่อต่อมน้ำเหลืองบวมหรืออักเสบเป็นอาการที่บ่งบอกถึงความผิดปกติ ดังนั้นไม่ควรนิ่งนอนใจหรือปล่อยให้เป็นเรื้อรัง
บทความสุขภาพ
04-04-2024

5