talasimear
หน้าแรก
“ธาลัสซีเมีย” โรคไกลตัวที่มีโอกาสเกิดมากจนคาดไม่ถึง
“ธาลัสซีเมีย” โรคไกลตัวที่มีโอกาสเกิดมากจนคาดไม่ถึง

หลายคนที่เคยผ่านหูกับชื่อโรคธาลัสซีเมีย คงคิดว่าเป็นเรื่องที่ไกลตัวและไม่ได้สนใจกับโรคดังกล่าวเท่าที่ควร ขณะที่โรคนี้กลับมีโอกาสเกิดในคนไทยได้มากอย่างคาดไม่ถึง จริงอยู่ที่โรคดังกล่าวมีผู้ป่วยเต็มขั้นไม่มากเท่าไรในประเทศไทย แต่หารู้ไม่ว่ามีผู้ที่เป็นพาหะของโรคนี้สูงถึง 1 ใน 3 หรือกว่า 20 ล้านคนโดยประมาณ ถือเป็นจำนวนไม่น้อยและส่งผลต่อการเกิดโรคในเด็กเกิดใหม่หากพ่อกับแม่เป็นพาหะทั้งคู่

โรคธาลัสซีเมีย เป็นโรคโลหิตจางซึ่งเกิดจาก

ความผิดปกติของฮีโมโกลบิน ส่งผลให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายกว่าปกติ ทำให้ตัวซีด ถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมเกิดจากพ่อและแม่ที่เป็นพาหะก็จะทำให้ลูกเป็นโรคนี้ได้ โดยถ้าหากว่าพ่อและแม่เป็นพาหะทั้งคู่ ลูกก็จะมีโอกาสเกิดโรคสูงถึงร้อยละ 20  ถ้าหากเป็นโรคนี้เต็มขั้นตั้งแต่ในครรภ์ เกิดมาก็มีโอกาสเสียชีวิตทันที ทารกในครรภ์จะมีอาการบวมน้ำ ท้องป่อง ม้ามโต ตับโต ในขณะที่ปอดจะมีขนาดเล็ก ถือเป็นอาการที่รุนแรงมาก ส่วนเด็กที่เกิดมาและมีอาการของโรคภายหลังมักจะตัวซีด เหลือง ม้ามและตับโต ตัวแคระแกร็น

โดยปกติแล้วเม็ดเลือดแดงจะมีอายุ 120 วัน แต่ในผู้ป่วยธาลัสซีเมียอายุของเม็ดเลือดแดงจะอยู่ไม่ถึงเดือน ทำให้ผู้ป่วยต้องเดินทางไปรับเลือดที่โรงพยาบาลทุกเดือนและยาขับธาตุเหล็กไปตลอดชีวิต

ส่วนวิธีรักษาให้หายขาดคือ การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด

ซึ่งแต่ก่อนจะต้องปลูกถ่ายระหว่างพี่น้องด้วยกัน แต่ปัญหาคือส่วนมากเด็กที่เป็นจะมีพ่อและแม่เป็นพาหะ ทำให้พี่น้องของพวกเขาก็มักเป็นโรคเดียวกัน แต่ปัจจุบันการรักษาด้วยวิธีนี้มีการพัฒนาขึ้น จากพี่น้องก็สามารถรับปลูกถ่ายเซลล์จากคนอื่นได้ รวมไปถึงพ่อแม่ เพราะเด็กทุกคนมีพ่อแม่และพ่อแม่เป็นแค่พาหะแต่ไม่ได้เป็นโรค ก็สามารถปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดระหว่างกันเพื่อรักษาให้หายขาดได้ เว้นแต่พ่อแม่จะมีร่างกายที่ไม่แข็งแรงซึ่งไม่เอื้ออำนวย รวมถึงปัญหาอื่นๆ

โดยในปัจจุบันก็มีอีกวิธีการรักษาหนึ่งนั่นก็คือ การตัดต่อยีนส์

ที่ถือเป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ โดยในการรักษาด้วยวิธีปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดและตัดต่อยีนส์จะทำให้ผู้ป่วยหายเป็นปกติ และไม่ต้องไปรับเลือดที่โรงพยาบาลรวมทั้งยาขับธาตุเหล็กอีกสามารถใช้ชีวิตเหมือนคนปกติทั่วไป

ส่วนวิธีการป้องกันการเกิดโรค

แนะนำว่าคู่สมรสที่คิดจะมีบุตรควรปรึกษาแพทย์ก่อนเพื่อตรวจดูว่าตัวเองและคู่สมรสเป็นพาหะของโรคหรือไม่ หากเป็นพาหะทั้งคู่ก็มีความเสี่ยงสูงที่บุตรจะเกิดมาเป็นโรคธารัสซีเมียได้

 

ข้อมูลจาก
ศ. นพ.สุรเดช หงส์อิง
สาขาวิชาโลหิตและโรคมะเร็ง ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “การปลูกถ่ายไขสันหลังของผู้ป่วยธาลัสซิเมีย : พบหมอรามา ช่วง Meet the expert” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5