สมองเสื่อม
หน้าแรก
ทำความเข้าใจ โรคหลอดเลือดสมองและภาวะสมองเสื่อม
ทำความเข้าใจ โรคหลอดเลือดสมองและภาวะสมองเสื่อม

โรคหลอดเลือดสมองเป็นอีกหนึ่งโรคที่พบบ่อยในสังคมไทย อีกทั้งยังเป็นสาเหตุสำคัญต่อการเสียชีวิต ในผู้ป่วยบางรายเกิดความพิการกลายเป็นภาระให้กับคนในครอบครัว ส่งผลกระทบต่อสังคมและประเทศ จึงเป็นเรื่องที่หลายคนควรทำความเข้าใจร่วมกัน

โรคหลอดเลือดสมอง

เป็นภาวะที่สมองขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ทำให้สมองหยุดทำงานเฉียบพลัน มาจากอาการขาดอาหารและเลือดไปเลี้ยงสมอง ส่งผลให้เซลล์สมองตายในที่สุด แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่

  1. ขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง อาจเกิดจากการตีบหรือตันของเส้นเลือด หรือเกิดจากลิ่มเลือดไปอุดตันสมอง
  2. เลือดออกในสมอง ซึ่งมีความเสี่ยงจากความดันโลหิตสูง มีหลอดเลือดโป่งพองในสมอง ทำให้หลอดเลือดในสมองแตกในที่สุด
  3. สมองขาดเลือด ในกรณีขาดเลือดชั่วคราว อาจเกิดจากลิ่มเลือดไปอุดตันทำให้สมองหยุดทำงานชั่วคราว จากนั้นลิ่มเลือดอาจกระเด็นหลุดออกไป ทำให้สมองกลับมาทำงานปกติ กรณีนี้เซลล์สมองจะยังไม่ตาย ไม่ทำให้อัมพฤกษ์หรืออัมพาต

โรคหลอดเลือดสมองส่วนมากเกิดจาก

ความเสื่อมของหลอดเลือด มักพบในผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป และพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงประมาณ 1% แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นโรคนี้ยังมีปัจจัยอื่นที่ทำให้เกิดนอกเหนือจากการเสื่อมของหลอดเลือด และสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกเพศทุกวัย ปัจจัยดังกล่าว ได้แก่ การเกิดอุบัติเหตุ หรือบางรายใช้คอเยอะๆ ก็อาจทำให้เกิดการฉีกขาดของหลอดเลือดได้ หรือทำให้ลื่มเลือดอุดตันได้ และบางรายอาจเกิดจากพันธุกรรม

สรุปปัจจัยปัจจัยของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่

อายุที่เพิ่มขึ้น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง การใช้ฮอร์โมนบางชนิดมากเกินไป การสูบบุหรี่ รวมถึงอาหารการกินก็มีส่วน

ในส่วนของโรคสมองเสื่อมคือ

มีความบกพร่องในการทำงาน ทำให้บางอย่างผิดปกติไป เช่น ความจำลดลง ความสามารถในการใช้ความคิดการใช้ภาษา การเรียบเรียงคำพูด การจัดลำดับเรื่องของทิศทางสูญเสียไป บางรายอาจมีอารมณ์และบุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงไป บางครั้งอาจไม่ได้เกิดจากอัลไซเมอร์ แต่อาจเกิดจากตัวหลอดเลือดสมองเอง

กลุ่มคนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงของโรคสมองเสื่อมที่เกิดจากภาวะสมองขาดเลือด

ได้แก่ ผู้ที่เป็นโรคหัวใจบางประเภท เช่น คนที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ทำให้เกิดลิ่มเลือดที่หัวใจไปอุดตันเส้นเลือดสมอง ก็ทำให้สมองเสื่อมได้ รวมถึงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ก็มีส่วนที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้

ในกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัวอย่างเบาหวาน ความดัน ไขมันอุดตัน คนกลุ่มนี้จะมีความเสี่ยง เพราะหลอดเลือดเสื่อมง่ายกว่าคนทั่วไป โดยปกติของหลอดเลือดจะสามารถหดและขยายได้ แต่ในคนที่มีโรคประจำตัวดังกล่าวถ้าหากควบคุมได้ไม่ดี จะทำให้ตัวหลอดเลือดที่มีความสามารถในการหดและขยายลดลง เกิดการตีบแข็ง ตีบตัน และทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อมได้ และถึงแม้ว่าส่วนมากโรคนี้จะเกิดกับผู้สูงอายุ แต่ในคนอายุน้อยก็สามารถเป็นโรคนี้ได้ โดยอาจเกิดจากอาหารการกินและพฤติกรรมอื่นๆ อย่างในคนที่สูบบุหรี่ก็มีความเสี่ยงเช่นกัน

วิธีการดูแลผู้ป่วยโรคนี้คือ

การป้องกัน ถ้าทราบว่ามีปัจจัยเสี่ยงอะไรก็ต้องลดปัจจัยเสี่ยงนั้นๆ โดยการควบคุมพฤติกรรมที่จะทำให้เกิดความเสี่ยง เช่น การรับประทานอาหาร ลดหวาน ลดเค็ม ลดมัน ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ถ้าสูบบุหรี่ก็เลิกบุหรี่ หรือถ้าอ้วนก็ให้ลดความอ้วน นอกจากนี้ถ้าเริ่มรู้สึกว่าคนไข้ผิดปกติให้รีบนำพบแพทย์ เพื่อรักษาแต่ต้น ป้องกันไม่ให้อาการรุนแรง ทั้งนี้ในส่วนของคนในครอบครัวสำคัญมาก คือจะต้องเข้าใจผู้ป่วย เพราะคนไข้กลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะสูญเสียความมั่นใจได้ง่าย ฉะนั้นการให้กำลังใจเป็นเรื่องที่สำคัญ

ในคนไข้โรคหลอดเลือดสมองสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

  • กลุ่มแรกคือกลุ่มที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน อาจทำให้เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต ต้องรีบพบแพทย์ทันที เช่น อัมพฤกษ์อัมพาตจากลิ่มเลือดไปอุดตันในหลอดเลือด ปัจจุบันทางการแพทย์มียาละลายลิ่มเลือดให้กลับมาเป็นปกติ แต่ต้องได้รับการรักษาแบบทันท่วงที ภายใน 4-5 ชั่วโมง หรือ 4 ชั่วโมงครึ่ง หากคนไข้ได้รับยาเร็วผลการรักษาจะดีกว่าผู้ที่ได้รับยาช้า
  • กลุ่มที่สองคือกลุ่มที่มีอาการส่อแววว่าจะเป็นโรคสมองเสื่อม อาจมีความจำที่ลดลง ให้ญาติรีบพาไปพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร เพราะภาวะสมองเสื่อมจากอัลไซเมอร์และจากโรคหลอดเลือด ใช้ยาไม่เหมือนกัน หากไปพบแพทย์ตั้งแต่ต้นจะเป็นผลดี คือแพทย์จะรักษาได้ทันท่วงที

 

ข้อมูลจาก
ผศ. พญ.สุรีรัตน์ สุวัชรังกูร
สาขาวิชาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “เรียนรู้และเข้าใจ โรคหลอดเลือดสมองและภาวะสมองเสื่อม : พบหมอรามา ช่วง Big Story “ ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5