ยาลดไขมันในเลือด,Simvastatin
หน้าแรก
ยาลดไขมันในเลือด “Simvastatin” ทำความรู้จักให้เข้าใจและใช้ให้ถูกต้อง
ยาลดไขมันในเลือด “Simvastatin” ทำความรู้จักให้เข้าใจและใช้ให้ถูกต้อง

Simvastatin หรือ ยาลดไขมันในเลือด เป็นยาที่หลายคนซื้อทานเองตามร้านขายยาโดยไม่ปรึกษาแพทย์ มีจุดประสงค์คือต้องการลดปริมาณไขมันในเลือดในภาวะที่ตรวจพบไขมันในเลือดสูงเกินไป ขณะเดียวกันก็ยังพบว่าผู้ที่ซื้อยาชนิดดังกล่าวมาทานเองจะมีอาการปวดศีรษะและนอนไม่หลับ ทั้งยังมีความสงสัยถึงผลข้างเคียงของการใช้ยาชนิดนี้ต่อเนื่องในระยะยาว จึงมีข้อชี้แจงจากแพทย์ถึงตัวยาชนิดดังกล่าวนี้

Simvastatin หรือยาลดไขมันในเลือดมีคุณสมบัติคือ

ใช้รักษาภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากไขมันในเลือดสูง และลดความเสี่ยงการเกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ หลอดเลือดสมองอุดตัน

กลไกการออกฤทธิ์ของตัว ยาลดไขมันในเลือด

คือการยับยั้งเอนไซม์ตัวหนึ่งในร่างกาย ทำให้เอนไซม์ไม่ทำงาน ซึ่งเอนไซม์ดังกล่าวเกี่ยวกับการสร้างคอเลสเตอรอล ทำให้ปริมาณคอเลสเตอรอลลดลง ทั้งยังช่วยขับไขมันชนิดไม่ดี (LDL) ออกจากร่างกาย โดยตัวยาจะออกฤทธิ์ในระยะเวลา 2-6 สัปดาห์ สามารถลดคอเลสเตอรอลในร่างกายได้ 30-50%

ข้อควรระวังของการใช้ยา Simvastatin ได้แก่

ห้ามใช้กับผู้ป่วยที่แพ้ยานี้ ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์เด็ดขาด ไม่ควรใช้ในหญิงที่กำลังให้นมบุตร และห้ามใช้กับผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับตับและไต นอกจากนี้การทานยาชนิดดังกล่าวควรได้รับการปรึกษาจากแพทย์เริ่มต้นจากให้แพทย์ประเมินปริมาณไขมันในเลือดก่อน เพื่อให้แพทย์กำหนดปริมาณการใช้ยาที่เหมาะสมแต่โดยทั่วไปยาชนิดนี้ไม่ควรทานเกิน 40 มิลลิกรัมต่อวัน

สำหรับผลข้างเคียงของยาลดไขมันในเลือดชนิดนี้

อาจทำให้เกิดอาการวิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ มวนท้อง แต่จะไม่รุนแรงและอาการจะดีขึ้นหลังใช้ไปประมาณ 1-2 เดือน แต่ควรระวังอาการที่ไม่ใช่ผลข้างเคียงของยานั่นก็คืออาการปวดกล้ามเนื้อ เช่น กดบริเวณกล้ามเนื้อแล้วเจ็บ เดินแล้วปวดน่อง อ่อนเพลีย อ่อนล้า มีปัสสาวะเปลี่ยนสีเป็นสีดำหรือสีน้ำตาล อาจเกิดจากกล้ามเนื้อที่แตกสลายแล้วขับผ่านไตออกมาเป็นสีเข้ม ภาวะนี้ควรหยุดยา Simvastatin ทันทีแล้วพบแพทย์ และควรระวังปัญหาเรื่องยาที่มีปฏิกิริยาต่อกัน ดังนั้นก่อนรับยาควรแจ้งให้แพทย์ทราบเสมอว่าปกติใช้ยาชนิดไหนอยู่บ้าง

รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ >>> Simvastatinทำความรู้จักยาลดไขมันในเลือด

แบบทดสอบความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจเนื่องจากไขมันในเลือดสูง >>> ไขมันในเลือดสูง เสี่ยง ! เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด

 

ข้อมูลจาก

ภก.วิชญ์ภัทร ธรานนท์

เภสัชกรคลินิก ฝ่ายเภสัชกรรม

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล

 

อย่าลืมกดติดตามช่อง Rama Channel ที่น่าสนใจอีกมากมายได้ที่ 

Website: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/

Website Rama mahidol : https://www.rama.mahidol.ac.th/

Facebook: https://www.facebook.com/ramachannel

Line: https://page.line.me/ramathibodi

Tiktok: https://www.tiktok.com/@ramachanneltv

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

0

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

4