จิตเภท อาการทางจิตที่ต้องเข้าใจ
หน้าแรก
จิตเภท อาการทางจิตที่ต้องเข้าใจ

จิตเภท อาการทางจิตที่ต้องเข้าใจ

จิตเภท หนึ่งในโรคทางจิตเวชที่ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติของสมอง ส่งผลให้มีความคิดและการรับรู้ที่ผิดปกติไปจากเดิม ซึ่งมักเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ โดยผู้ป่วยจะมีพฤติกรรมที่แปลกไปจากคนทั่วไป เช่น การหลงเชื่อว่าจะมีคนมาทำร้าย อาการหูแว่ว หรือเห็นภาพหลอน

“โรคจิตเภท” โรคอันตรายที่อาจจะเปลี่ยนชีวิตคน

จิตเภท อาการทางจิตที่ต้องเข้าใจ

อาการของ จิตเภท

จิตเภทสามารถแบ่งประเภทของอาการได้ 3 ประเภท ดังนี้

อาการด้านบวก 

  • ประสาทหลอน เป็นอาการทางจิตเภทที่เกิดขึ้นจากผู้ป่วยมองเห็น ได้ยินเสียง กลิ่น หรือรับสัมผัสต่าง ๆ โดยที่ไม่ได้มีอยู่จริง และอาจทำให้เกิดความรู้สึกกลัว หวาดระแวงขึ้นหลงผิด เชื่อว่าจะเกิดสิ่งไม่ดีขึ้นกับตัวเอง มีคนคิดทำร้าย หรือเชื่อว่ามีคนมาหลงรัก คิดว่ามีผู้อื่นพูดถึงตน หรือกลัวว่าคนอื่นจะรู้ความคิดของตนเอง  โดยที่เรื่องนั้นไม่ได้เกิดขึ้นจริง

“โรคจิตเภทแบบหวาดระแวง”

  • การผิดปกติทางด้านความคิด โดยผู้ป่วยที่มีอาการนี้จะมีความคิดและการประมวลผลที่ผิดปกติไปจากเดิม อาจแสดงออกผ่านทางการสื่อสารที่ดูไม่เชื่อมโยงกัน มีความคิดกระโดดไปมาจากเรื่องหนึ่งไปเรื่องหนึ่ง 
  • การผิดปกติด้านการเคลื่อนไหว จะมีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ เช่น ตัวแข็งเกร็ง ทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ โดยไม่ได้มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน หรือหยุดการกระทำบางอย่างโดยไม่มีสาเหตุ

โรคจิตหลงผิด เกิดจากการ คิดไปเองบ่อย ๆ จริงหรือ ?

อาการด้านลบ

เป็นอาการที่ผู้ป่วยจิตเภทจะแสดงออกทางด้านอารมณ์ พฤติกรรม และความสามารถ เช่น พูดน้อยลง การแสดงออกทางสีหน้าลดลง ปลีกตัวออกจากสังคม ไม่มีความสนใจหรือกระตือรือร้นในการใช้ชีวิตประจำวัน และมีปัญหาในการทำกิจวัตรประจำวัน

จิตเภท อาการทางจิตที่ต้องเข้าใจ

สาเหตุของ จิตเภท

  • พันธุกรรม
  • ความผิดของการทำงานของสมองหรือสารเคมีในสมอง
  • ปัญหาทางสุขภาพกาย เช่น การติดเชื้อสมอง โรคสมองเสื่อม โรคลมชัก โรคทางหลอดเลือดสมอง
  • การใช้ยาเสพติด
  • ความเครียดจากปัญหาต่าง ๆ เช่น ความสัมพันธ์ การเงิน หรือการสูญเสียคนรัก

“ประเมินสมองส่วนหน้าในผู้ป่วยโรคจิตเภท”

จิตเภท อาการทางจิตที่ต้องเข้าใจ

วิธีการรักษา

ค้นหาสาเหตุของอาการดังกล่าว และให้การรักษาหากอาการจิตเภทมีสาเหตุทางกายที่ชัดเจน

  • ใช้ยาในการรักษา เป็นวิธีการรักษาที่แพทย์จะให้ยาเพื่อรักษาความสมดุลของสารเคมีในสมองซึ่งจะมียาแบบรับประทานและแบบฉีด
  • การบำบัดทางจิต วิธีนี้แพทย์จะมีการพูดคุยกับผู้ป่วย ให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกต่าง ๆ ออกมา ซึ่งจะมีส่วนช่วยในเรื่องพฤติกรรมของผู้ป่วย ส่งเสริมการรับผิดชอบทำงานและหน้าที่ต่าง ๆ ฟื้นฟูทักษะในการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน
  • บำบัดภายในครอบครัว แพทย์ให้ความรู้กับครอบครัวของผู้ป่วยโรคจิตเภทเพื่อสร้างความเข้าใจให้สามารถอยู่ร่วมกันและดูแลผู้ป่วย รวมถึงลดอาการรุนแรงของผู้ป่วยได้

 

ข้อมูลจาก

ผศ. นพ.คมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์

ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ 

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคฝีดาษลิง ไวรัสอันตรายจากลิงสู่คน
โรคฝีดาษลิงเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่แพร่จากสัตว์สู่คน มีอาการไข้ ผื่นตุ่มหนอง และปวดเมื่อย พบมากในพื้นที่ที่มีการสัมผัสสัตว์ป่าโดยตรง
บทความสุขภาพ
30-11-2024

3

โรคมะเร็งกระเพาะอาหาร อาการ สาเหตุ การป้องกัน
มะเร็งกระเพาะอาหารเกิดจากพฤติกรรมการกินและปัจจัยทางพันธุกรรม อาการเริ่มต้นไม่ชัดเจน ควรตรวจสุขภาพและปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยง
บทความสุขภาพ
29-11-2024

1

ภาวะเบาหวานขึ้นตา อันตรายถึงตาบอดตลอดชีวิต
เบาหวานขึ้นตาเกิดจากน้ำตาลในเลือดสูงทำลายหลอดเลือดในจอประสาทตา เสี่ยงตาบอดถาวร ควรตรวจตาและควบคุมน้ำตาลเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
บทความสุขภาพ
28-11-2024

-28

ข้อเข่าเสื่อม สามารถเกิดได้แม้ในวัยหนุ่มสาว หากใช้งานเข่าหนักหรือมีน้ำหนักเกิน ควรดูแลข้อเข่าและออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยง
ข้อเข่าเสื่อมสามารถเกิดได้แม้ในวัยหนุ่มสาว หากใช้งานเข่าหนักหรือมีน้ำหนักเกิน ควรดูแลข้อเข่าและออกกำลังกายอย่างเหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยง
บทความสุขภาพ
25-11-2024

33

ปรึกษาปัญหาสุขภาพ
0 2201 1000
0 2200 3000

งานสื่อสารองค์กร คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

270 ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท
เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
โทร. 0 2201 0182
โทรสาร 0 2201 2127
อีเมล ramachannel24@gmail.com

© 2024, RAMA CHANNEL