บทความ เรื่อง ความดันโลหิตต่ำ เป็นภาวะที่ค่าความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท สามารถตรวจพบ ความดันโลหิต ต่ำได้โดยบังเอิญในบุคคลทุกเพศ ทุกวัย
หน้าแรก
ความดันโลหิตต่ำ อันตรายหรือไม่ ?
ความดันโลหิตต่ำ อันตรายหรือไม่ ?

ความดันโลหิตต่ำ คืออะไร ?

เป็นภาวะที่ค่าความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท โดยทั่วไปภาวะ ความดันโลหิตต่ำ ที่ไม่มีอาการ มักไม่อันตราย และไม่ได้นำไปสู่โรคเรื้อรัง สามารถตรวจพบความดันโลหิตต่ำได้โดยบังเอิญในบุคคลทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่มีรูปร่างผอม พักผ่อนน้อย แต่ในบางกรณี เช่น ผู้สูงอายุที่อาจพบมีความดันโลหิตต่ำได้ในช่วงเปลี่ยนอริยาบถก็นำไปสู่การหกล้มซึ่งเกิดอันตรายได้ หรือในบุคคลทั่วไปที่มี ความดันโลหิต ต่ำร่วมกับมีภาวะความเจ็บป่วยบางอย่าง หรือเป็นความดันโลหิตต่ำที่มีอาการแสดง เช่น วิงเวียน หน้ามืด ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงภาวะที่อาจคุกคามต่อชีวิต ซึ่งควรรีบมาพบแพทย์เพื่อให้การประเมินและรักษาตามสาเหตุต่อไป

มาทำความรู้จักโรคความดันโลหิตต่ำกันให้มากขึ้นที่ – “ความดันโลหิตต่ำเห็นแล้วช้ำใจ”

บทความ เรื่อง ความดันโลหิตต่ำ เป็นภาวะที่ค่าความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท สามารถตรวจพบ ความดันโลหิต ต่ำได้โดยบังเอิญในบุคคลทุกเพศ ทุกวัย

สาเหตุความดันโลหิตต่ำ

ความดันโลหิตต่ำเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น

  • การเปลี่ยนท่าทางของร่างกายอย่างรวดเร็ว เช่น ลุกหรือนั่งแบบกะทันหัน 
  • ความเครียด การพักผ่อนน้อย
  • การมีรูปร่างผอมบางเกินไป
  • ปัจจัยด้านพันธุกรรม
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเลือดจาง โรคหัวใจ โรคต่อมไร้ท่อ
  • การรับประทานยาบางชนิด เช่น ยาลดความดันเลือด ยาขับปัสสาวะ
  • การสูญเสียสารน้ำในร่างกาย เช่น การเสียเหงื่อ อุจจาระร่วง 
  • การสูญเสียเลือด เช่น การเสียเลือดจากอุบัติเหตุ

บทความ เรื่อง ความดันโลหิตต่ำ เป็นภาวะที่ค่าความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท สามารถตรวจพบ ความดันโลหิต ต่ำได้โดยบังเอิญในบุคคลทุกเพศ ทุกวัย

อาการความดันโลหิตต่ำ

  • วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด วูบ 
  • เห็นภาพเบลอ หรือเห็นภาพซ้อน
  • ใจสั่น
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • ร่างกายขาดน้ำ
  • คลื่นไส้
  • ซึม สับสน กระสับกระส่าย ขาดสมาธิ

อันตรายของ ความดันโลหิตต่ำ

ภาวะความดันโลหิตต่ำที่ไม่มีอาการ อาจตรวจพบได้โดยบังเอิญ มักไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย อย่างไรก็ตาม หากมีอาการแสดงบางอย่าง เช่น หน้ามืด วิงเวียน วูบ ใจสั่น ร่วมกับมีภาวะความดันโลหิตต่ำ หรือกรณีตรวจพบความดันโลหิตต่ำร่วมกับมีไข้ มีประวัติเสียเลือดหรือสารน้ำในร่างกายอย่างฉับพลัน ควรเข้าพบแพทย์อย่างเร่งด่วน เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อชีวิตได้ เช่น ภาวะช็อก 

ภาวะแทรกซ้อน เมื่อมีความดันโลหิตต่ำ

เนื่องจาก ความดันโลหิต คือค่าความดันที่นำเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะอวัยวะสำคัญ เมื่อผู้ป่วยมีอาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ อาจนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เช่น การหกล้ม ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมากในผู้สูงอายุ นอกจากนี้การมีความดันโลหิตต่ำที่มีอาการร่วมกับการมีภาวะความเจ็บป่วยบางอย่างอาจเป็นสัญญาณเตือนที่จะเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ เช่น ภาวะช็อก

นอกจากนี้ภาวะเแทรกซ้อนของความดันโลหิตต่ำที่อาจส่งผลที่เกิดอันตรายต่อสุขภาพร่างกายยังมีอยู่อีกมากมาย สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ – โรคแทรกซ้อนภัยร้าย ที่มากับ ความดันโลหิตต่ำ

บทความ เรื่อง ความดันโลหิตต่ำ เป็นภาวะที่ค่าความดันโลหิตต่ำกว่า 90/60 มิลลิเมตรปรอท สามารถตรวจพบ ความดันโลหิต ต่ำได้โดยบังเอิญในบุคคลทุกเพศ ทุกวัย

ดูแลร่างกายเมื่อความดันโลหิตต่ำ

กรณีที่ตรวจพบความดันโลหิตต่ำโดยที่ไม่มีอาการ หรือไม่มีภาวะความเจ็บป่วยอื่น ๆ ร่วม สามารถให้การดูแลตนเองได้เบื้องต้น ดังนี้

  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • หลีกเลี่ยงความเครียด
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนท่านั่งหรือยืนอย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตามหากตรวจพบความดันโลหิตต่ำที่มีมีภาวะความเจ็บป่วยอื่น ๆ ร่วม ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อให้การประเมินรักษาต่อไป สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการดูแลตัวเองหากเป็นความดันโลหิตต่ำได้ที่ – ความดันโลหิตต่ำควรดูแลตัวเองอย่างไร ?

วิธีรักษาเมื่อเป็น ความดันโลหิตต่ำ

วิธีการรักษาภาวะความดันโลหิตต่ำขึ้นอยู่กับสาเหตุและอาการตามที่กล่าวมาข้างต้นเป็นหลัก 

กรณีตรวจพบความดันโลหิตต่ำโดยไม่มีอาการใด ๆ อาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา แต่หากมีภาวะความดันโลหิตต่ำร่วมกับอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ หรือมีความดันโลหิตต่ำร่วมกับมีอาการแสดง เช่น วูบ วิงเวียน ใจสั่น จำเป็นจะต้องเข้าพบแพทย์เพื่อสืบค้นหาสาเหตุและให้การรักษาต่อไป เช่น การให้สารน้ำทดแทนในผู้ที่มีการสูญเสียสารน้ำในร่างกาย การปรับยาที่อาจเป็นสาเหตุของภาวะความดันโลหิตต่ำ

 

ข้อมูลจาก

อ. พญ.ณัฏฐากร พงศ์เศรษฐ์กุล

ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว 

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล

 

อย่าลืมกดติดตามช่อง Rama Channel ที่น่าสนใจอีกมากมายได้ที่ 

Website Ramathibodi: https://www.rama.mahidol.ac.th/

Youtube: https://www.youtube.com/RamachannelTV

Facebook : https://www.facebook.com/ramachannel

Line: https://page.line.me/ramathibodi

Tiktok: https://www.tiktok.com/@ramachanneltv

บทความที่เกี่ยวข้อง

97_หลอดเลือดหัวใจตีบ-อาการเริ่มต้นโรคหัวใจที่ต้องรู้ไว้2
หลอดเลือดหัวใจตีบเป็นสัญญาณเตือนโรคหัวใจ ควรสังเกตอาการเจ็บหน้าอก หายใจลำบาก และรีบพบแพทย์เพื่อตรวจและรักษาทันที
บทความสุขภาพ
05-09-2024

5

บทความ เรื่อง เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
เต้านม เป็นอวัยวะที่แสดงถึงลักษณะของเพศหญิงอย่างหนึ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมา หากเกิดอาการ เต้านมผิดปกติ ควรสังเกตุและแก้ไขอย่างไร ?
บทความสุขภาพ
23-08-2024

11

การนอนหลับมักมาคู่กับ ความฝัน หากฝันดีตื่นเช้ามาก็สดใสไม่มีเรื่องกังวลอะไร แต่ถ้า ฝันร้าย ก็คงสร้างความวิตกกังวลส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
การนอนหลับมักมาคู่กับ "ความฝัน" หากฝันดีตื่นเช้ามาก็สดใสไม่มีเรื่องกังวลอะไร แต่ถ้า "ฝันร้าย" ก็คงสร้างความวิตกกังวลส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
บทความสุขภาพ
23-08-2024

14

บทความ เรื่อง การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) ของ ผู้หญิง
การตรวจภายใน ควรเข้ารับการตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือโรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) และความเสี่ยงอื่น ๆ ทางระบบสืบพันธ์ุของผู้หญิง
บทความสุขภาพ
22-08-2024

9