คราบหินปูน
หน้าแรก
“คราบหินปูน” อันตรายกว่าที่คิด
“คราบหินปูน” อันตรายกว่าที่คิด

อีกหนึ่งปัญหาในช่องปากก็คือคราบหินปูนที่เกาะตามผิวฟัน หลายคนอาจมองข้ามการรักษาเพราะคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย  ขณะที่ความจริงแล้วปัญหาดังกล่าวอาจนำมาสู่ปัญหาช่องปากอื่นๆ ได้อย่างคาดไม่ถึง

คราบหินปูนถูกเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “หินน้ำลาย” เกิดจาก

คราบจุลินทรีย์หรือขี้ฟันที่สะสมและจับกับเชื้อโรคจนกระทั่งตกตะกอนกลายเป็นของแข็งเกาะอยู่บนผิวฟัน ซอกเหงือก ซอกฟัน และขอบฟัน โดยปกติคราบจุลินทรีย์เริ่มต้นที่เกาะอยู่บนผิวฟันจะมีลักษณะนิ่มและสามารถแปรงออกได้ แต่เมื่อใดที่มีแร่ธาตุจากน้ำลายมาผสมด้วยจะกลายเป็นคราบหินปูนที่มีลักษณะเป็นของแข็งไม่สามารถแปรงได้เอง ต้องให้ทันตแพทย์ทำการขูดหินปูนออกไปเท่านั้น

ผลข้างเคียงของปัญหาคราบหินปูน

จะเกิดขึ้นเมื่อจุลินทรีย์ปล่อยสารที่เป็นกรดออกมาทำให้เกิดเหงือกอักเสบ และเมื่อปล่อยออกมานานๆ กระดูกที่รองรับรากฟันจะค่อยๆ ละลาย ทำให้ฟันโยกไม่แข็งแรง โดยปัญหาที่เกิดจากคราบหินปูน ได้แก่ เลือดออกขณะแปรงฟัน ฟันเหลือง มีกลิ่นปาก เหงือกร่น โรคปริทันต์  ฟันผุ ฟันโยกฟันห่าง และฟันผุ

ดังนั้นปัญหาคราบหินปูนจึงเป็นปัญหาช่องปากที่ควรได้รับการดูแลจากทันตแพทย์ตามความเหมาะสม สำหรับช่วงอายุที่สามารถเข้ารับการขูดหินปูนได้นั้น ปกติแล้วไม่ได้มีการกำหนดตายตัวอาศัยการตรวจสุขภาพถ้าหากถึงเวลาที่ควรได้รับการขูดหินปูนแพทย์จะแนะนำ ส่วนความถี่ที่เหมาะสมในการขูดหินปูน สำหรับคนทั่วไปที่มีอาการเหงือกอักเสบเพียงเล็กน้อยควรขูดหินปูนทุก 6 เดือน แต่ถ้าหากมีอาการของร่องลึกปริทันต์ด้วยควรได้รับการขูดหินปูนทุก 3-4 เดือน

วิธีการขูดหินปูน

แพทย์จะใช้เครื่องขูดหินปูนทำการกระเทาะเอาตัวหินปูนออกจากผิวฟัน ซึ่งวิธีการนี้จะไม่ได้ขูดที่ผิวฟันโดยตรงและไม่มีการยุ่งกับเนื้อฟันแต่อย่างใด ขณะที่หลายคนยังคงเข้าใจผิดอยู่ว่าการขูดหินปูนจะต้องขูดกับเนื้อฟันและทำให้ฟันห่าง จึงไม่อยากขูดหินปูน ซึ่งความเข้าใจผิดโดยสิ้นเชิง ส่วนอาการเสียวฟันขณะขูดหินปูนอาจเกิดเล็กน้อย เว้นแต่บางกรณีที่ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกเสียวมาก แพทย์ก็จะใส่ยาชาให้

หลังขูดหินปูนหลายๆ คนจะสังเกตเห็นว่าฟันจะห่างออกจากกัน ซึ่งตรงนี้เองที่หลายคนยังเข้าใจผิดอยู่ว่าเป็นเพราะการขูดหินปูนของแพทย์ ซึ่งเป็นเรื่องเข้าใจผิด เพราะฟันที่ห่างนั้นเกิดจากหินปูนที่สะสมอยู่ตามซอกเหงือก ทำให้เกิดการอักเสบของเหงือกและเกิดการร่นของเหงือกตามมา เมื่อขูดหินปูนออกมาจึงเห็นว่าฟันแต่ละซี่ได้ห่างออกจากกันซึ่งเป็นผลจากคราบหินปูนเอง จึงไม่ควรปล่อยทิ้งไว้

ส่วนการดูแลรักษาฟันจากคราบหินปูน ได้แก่

การแปรงฟันให้ถูกวิธีและสะอาด แปรงฟันอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวันเวลาเช้าและเย็น และถ้าสามารถแปรงฟันกลางวันได้ยิ่งดี หรือไม่ก็แนะนำให้บ้วนน้ำ 2-3 ครั้ง หลังมื้อกลางวัน และหลีกเลี่ยงของหวานระหว่างมื้อ รวมทั้งพบทันตแพทย์อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

 

ข้อมูลจาก
ทพญ.นุชนาถ โอปิลันธน์
งานทันตกรรม
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “”คราบหินปูน”อันตรายที่หลายคนมองข้าม! : Rama Square ช่วง ปากสวย-โสตใส” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

0

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5