ยาคุมกำเนิด คุมกำเนิด
หน้าแรก
ยาคุมกำเนิด กินให้ถูกวิธี คุมได้หายห่วง
ยาคุมกำเนิด กินให้ถูกวิธี คุมได้หายห่วง

ยาคุมกำเนิด เป็นวิธีการ คุมกำเนิด ที่มีประสิทธิภาพ หากกินอย่างถูกต้อง แต่ปัญหาที่พบคือการกินที่ไม่ถูกวิธี ทำให้การคุมกำเนิดเสื่อมประสิทธิภาพลง ถือเป็นเรื่องที่ทุกคนควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับชนิดของยาคุมกำเนิด วิธีการกินยา คุมกำเนิด ที่ถูกต้อง รวมถึงการไขข้อข้องใจเกี่ยวกับความเชื่อผิด ๆ ในเรื่องของยาคุมกำเนิด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการคุมกำเนิดจากการกินยา

รับชมข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ >>> ยาคุมกำเนิดคุมได้ก็หายห่วง

ยาคุมกำเนิด ชนิดเม็ดมีกี่ประเภท?

ชนิดของยาคุมกำเนิดแบบเม็ดมีทั้งหมด 3 ชนิดด้วยกัน ได้แก่

  • ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสเตอโรน เป็นชนิดแนะนำให้ใช้กันทั่วไป
  • ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดแบบฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน แบบเดี่ยว เหมาะกับสตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
  • ยาคุมกำเนิดชนิดเม็ดแบบฉุกเฉิน ไม่แนะนำให้ใช้เป็นมาตรฐาน ควรใช้เฉพาะกรณีฉุกเฉินมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้ป้องกันหรือการคุมกำเนิดที่ใช้อยู่ผิดพลาด เช่น ถุงยางแตก รั่วหรือ หลุด เป็นต้น

ยาคุมกำเนิดชนิดแนะนำ

ยาคุมชนิดแนะนำหรือที่ใช้กันอยู่อย่างแพร่หลาย คือชนิดฮอร์โมนรวม เพราะเป็นชนิดใช้ง่าย หาซื้อได้ทั่วไป ราคาไม่แพง และประสิทธิภาพการคุมกำเนิดสูง มีโอกาสพลาดตั้งครรภ์เพียงร้อยละ 0.3 ซึ่งน้อยมาก

วิธีการกินยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม

แนะนำให้เริ่มกินภายในวันที่ 5 ของวันที่มีประจำเดือน โดยนับวันแรกที่มีประจำเดือนเป็นวันที่ 1 หลังจากเริ่มกินแล้วควรกินต่อเนื่องทุกวัน ในช่วงเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน เพื่อประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดดีที่สุด

ผลข้างเคียงของยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม

ผลข้างเคียงในอดีตของยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม มักทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน น้ำหนักตัวเพิ่ม บวมน้ำ ผ้าขึ้น ซึ่งพบได้น้อยลงมากในยาคุมกำเนิดที่วางแผงอยู่ในปัจจุบัน เพราะปริมาณฮอร์โมนเอสโตรเจนในตัวยาถูกลดปริมาณลงจากเดิมถึงครึ่งนึง

ความเชื่อที่ไม่ถูกต้องของ ยาคุมกำเนิด ชนิดฮอร์โมนรวม

  • ทำให้มดลูกแห้ง แต่ในความเป็นจริงแล้วยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม ทำให้ประจำเดือนมาน้อยลง ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะทำให้ร่างกายลดการเสียเลือด อีกทั้งยังส่งผลให้อาการปวดประจำเดือนลดลงด้วย
  • ทำให้มีบุตรยากในอนาคต พบว่าหากหยุดยาคุมกำเนิดเป็นเวลา 2-3 เดือน ก็สามารถตั้งครรภ์ได้ตามปกติ ไม่มีผลต่อการมีบุตรยากในอนาคตแต่อย่างใด

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ >>> ยาคุม ไม่ได้มีดี แค่คุมกำเนิด

 

ข้อมูลโดย

อ. พญ.อรวิน วัลลิภากร

สาขาวิชาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์

ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

มหาวิทยาลัยมหิดล

 

อย่าลืมกดติดตามช่อง Rama Channel ที่น่าสนใจอีกมากมายได้ที่ 

Website: https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/

Website Rama mahidol : https://www.rama.mahidol.ac.th/

Facebook: https://www.facebook.com/ramachannel

Line: https://page.line.me/ramathibodi

Tiktok: https://www.tiktok.com/@ramachanneltv

บทความที่เกี่ยวข้อง

บทความเรื่อง โรคคางทูม เกิดจาก การใช้ หลอดดูดน้ำ เดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อได้
โรคคางทูม เกิดจากการใช้หลอดดูดน้ำเดียวกัน จริงหรือ ? มีโอกาสติดโรคได้เนื่องจากสารคัดหลั่งของผู้ป่วยที่มีเชื้อบนหลอดสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้
บทความสุขภาพ
17-04-2024

1

บทความเรื่อง ยาระบาย แก้ท้องผูก ได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้นยาระบายช่วยให้อาการ ท้องผูก หายได้เบื้องต้น
ยาระบาย แก้ท้องผูกได้จริงหรือไม่ ? ยาระบายจะเข้าไปช่วยให้การขับถ่ายให้กลับมาเป็นปกติ ดังนั้น ยาระบายช่วยให้อาการท้องผูกหายได้เบื้องต้นเท่านั้น
บทความสุขภาพ
11-04-2024

1

บทความเรื่อง โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรค ผิวหนังอักเสบ เรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรค สะเก็ดเงิน รักษา อย่างไรได้บ้าง ?
โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังชนิดหนึ่ง ส่วนใหญ่มักจะมีอาการคัน ผิวหนังแดง มีขุยหนา แล้วโรคสะเก็ดเงินรักษาอย่างไรได้บ้าง ?
บทความสุขภาพ
10-04-2024

8

บทความเรื่อง ปวดขมับ หรือท้ายทอย คือสัญญาณเตือน โรคไต ! จริงหรือไม่ ? ปวดศีรษะ บริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้มาสังเกตอาการกันว่าแบบนี้จะเข้าข่ายหรือไม่แล้วเมื่อเป็น โรคไต อาการ จะเป็นอย่างไร ?
อาการปวดศีรษะที่ต้องเฝ้าระวัง หากมีอาการปวดบริเวณขมับหรือท้ายทอยอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคไตได้ มาสังเกตอาการกันว่าเมื่อปวดขมับหรือท้ายทอยแบบนี้จะเข้าข่ายเป็นโรคไตหรือไม่ !
บทความสุขภาพ
05-04-2024

5