PTSD2-01
หน้าแรก
กลุ่มเสี่ยงเป็นภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง (PTSD ตอนที่ 2)
กลุ่มเสี่ยงเป็นภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง (PTSD ตอนที่ 2)

กลุ่มเสี่ยง ได้แก่

  1. คนที่มีประสบการณ์ถูกทำร้ายตอนเด็กๆ
  2. คนที่ไม่ค่อยมีเพื่อนหรือครอบครัวมาคอยช่วยเหลือ
  3. คนที่ชอบพึ่งพาคนอื่นมาโดยตลอด ไม่พยายามช่วยเหลือตนเอง
  4. คนที่มีอาการทางจิตเวชเป็นทุนเดิม เช่น โรคซึมเศร้า โรคไบโพล่า โรควิตกกังวล
  5. คนที่อายุน้อยไม่มีประสบการณ์ คนอายุมากที่มีปัญหาเรื่องการปรับตัว
  6. ผู้หญิงมีแนวโน้มจะเป็นโรค PTSD ได้มากกว่าผู้ชาย

แนวทางการรักษา มีดังนี้

  1. ยอมรับตัวเอง ไม่ต้องกลัวการรักษาหรือคิดว่าตัวเองเป็นโรคจิตเวชร้ายแรง ไม่ว่าใครที่เคยเจอเหตุการณ์ร้ายๆ ก็ต้องเครียดด้วยกันทั้งนั้น
  2. ทำจิตบำบัดในเชิงพฤติกรรมบำบัด เช่น ให้เผชิญกับสิ่งที่หวาดกลัว เหตุการณ์ที่เคยหวาดกลัว ให้คนไข้ได้ปรับตัว หาทางที่จะควบคุมอาการที่เกิดขึ้นได้ด้วยตัวเอง
  3. ฝึกผ่อนคลายความเครียด เช่น การทำสมาธิ ฝึกลมหายใจ วิธีการเบี่ยนเบนความคิดเมื่อเราคิดหมกมุน
  4. ทำกลุ่มบำบัด โดยนำบุคคลที่เคยเจอเหตุการณ์คล้ายๆ กันมาพบกัน แล้วร่วมแชร์ความรู้สึกประสบการณ์ เหมือนมีเพื่อนคอยรับฟังความคิดเห็นของเรา เพื่อให้เผชิญกับเหตุการณ์นั้นๆ ได้ดีขึ้น
  5. รักษาด้วยยาตามจิตแพทย์สั่ง

 

ข้อมูลจาก
อ. พญ.แสงศุลี ธรรมไกรสร
ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ ““PTSD” โรคเครียดหลังจากพบเจอเหตุการณ์สะเทือนใจ : พบหมอรามา ช่วง Big Story” ได้ที่นี่