เชื่อว่าหลาย ๆ ท่าน อาจเคยได้พูดคุยกับครอบครัวที่มาปรึกษาปัญหาวัยรุ่นต่าง ๆ เช่น ลูกติดเกม ลูกติดบุหรี่ และอาจไม่มั่นใจว่าจะรับมือกับปัญหาเหล่านี้อย่างไร |
ก่อนให้การปรึกษาวัยรุ่น ผู้ให้คำปรึกษาก็ควรสำรวจความพร้อมของตนเองก่อน โดยการรับรู้และจัดการอารมณ์ของตนเอง ก่อนจะเริ่มพูดคุยอาจจะสังเกตสัญญาณที่บ่งบอกว่าผู้ให้คำปรึกษาอาจจะยังไม่พร้อม เช่น รู้สึกเหนื่อย ท้อแท้ ใช้อารมณ์กับผู้รับบริการหรือเพื่อนร่วมงาน |
สิ่งที่สำคัญเป็นอันดับแรก คือ การสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับวัยรุ่น ควรมีการตกลงเรื่องการรักษาความลับ ซึ่งเป็นสิ่งที่จะสร้างความไว้วางใจให้วัยรุ่นกล้าเล่าเรื่องราวต่าง ๆ หลังจากนั้น ก็เริ่มพูดคุย สำรวจปัญหา ทำความเข้าใจปัญหา โดยระหว่างพูดคุยควรตั้งใจรับฟัง ไม่เปลี่ยนเรื่อง ไม่พูดแทรก หรือขัดจังหวะ แต่สามารถพูดสรุปประเด็นได้ และควรคิดไว้เสมอว่าการให้คำปรึกษา ไม่ใช่การสอน เราควรช่วยให้วัยรุ่นได้ตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเอง บนพื้นฐานของการเข้าใจตนเอง และรับผิดชอบต่อการตัดสินใจนั้น ๆ สุดท้ายคือการตั้งเป้าหมาย โดยวัยรุ่นเอง ผู้ให้คำปรึกษาอาจช่วยสรุปประเด็น และให้กำลังใจวัยรุ่น |
มีการศึกษาพบว่าประมาณ 1 ใน 10 ของเด็กและวัยรุ่น มีปัญหาสุขภาพจิต ภาวะที่พบได้บ่อย เช่น ภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล การใช้สารเสพติด ซึ่งวัยรุ่นมักไม่ได้มาพบแพทย์ แล้วเล่าอาการเหล่านี้ให้แพทย์ฟังอย่างชัดเจน แต่อาจมาด้วยอาการทางกายอื่น ๆ ที่เป็นซ้ำ ๆ หรือ ผู้ปกครองพามาด้วยปัญหาพฤติกรรม จึงทำให้อัตราการตรวจพบโรคดังกล่าวค่อนข้างน้อย |
HEADSSS เป็นแนวคำถามที่ช่วยให้เราประเมินสุขภาพวัยรุ่นแบบองค์รวมมากขึ้น
|
ค้นหาข้อเท็จจริงที่เป็นอยู่ เช่น มองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนเอง คนอื่นก็เจอได้เช่นกัน |
วิธีเบี่ยงเบนความคิดจากสิ่งที่มีอยู่ เช่น การทำกิจกรรมที่ทำให้มีการจดจ่อกับสิ่งนั้น ๆ ฝึกรับรู้ต่อการสัมผัสมากขึ้น ทั้งหู ตา จมูก หรือ ฝึกรับรู้ความรู้สึกของคนรอบตัว |
ซึ่งจะส่งผลต่ออารมณ์และพฤติกรรม เช่น ไม่คิดแบบเหมารวม ว่าการทำผิดเพียงครั้งเดียว แล้วจะผิดทุกครั้งเสมอไป หรือ คิดตีความสถานการณ์ในแง่ลบ ความคิดเหล่านี้จะยิ่งทำให้รู้สึกไม่ดี ทั้ง ๆ ที่เหตุการณ์อาจไม่ได้เป็นอย่างที่คิดเสมอไป เลือกมองโลกในแง่ดี มองถึงสิ่งที่ยังเหลืออยู่แทนสิ่งที่เสียไป นึกถึงประสบการณ์ที่ดีในอดีต หามุมมองใหม่ที่เป็นประโยชน์ การเปรียบเทียบสถานการณ์กับสิ่งที่แย่กว่า การปรับความคิด จะช่วยให้ควบคุมสถานการณ์ในจิตใจได้ โดยเริ่มจาก
|
หลาย ๆ ครั้ง ผู้ปกครองอาจมีปัญหาในการพูดคุยกับลูก เมื่อลูกเข้าสู่วัยรุ่น ผู้ให้คำปรึกษา อาจแนะนำการปรับวิธีการสื่อสารให้กับผู้ปกครอง ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวดีขึ้นได้ โดยการรับฟังอย่างตั้งใจ ท่าทีที่เปิดใจ เปิดโอกาสให้ลูกได้เล่าอย่างเต็มที่ ไม่ควรรีบแสดงความคิดเห็นโต้แย้ง สั่งสอน หรือตำหนิ ทบทวนวิธีการสื่อสารของพ่อแม่ พยายามสื่อสารให้ลูกเห็นถึงความรัก ความห่วงใย อาจใช้วิธีบอกความรู้สึก ความต้องการของตนเองในเชิงบวก (I-message) เช่น “แม่เป็นห่วงที่ลูกนอนดึก แล้วจะส่งผลเสียต่อสุขภาพของลูก” วัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องการการยอมรับ ผู้ปกครองควรปรับการวางตัว เป็นเหมือนเพื่อนที่คอยรับฟังเหตุผลและแสดงความคิดเห็นร่วมกัน รวมถึงการเข้าใจธรรมชาติของวัยรุ่น |
จะเห็นได้ว่าปัญหาวัยรุ่น ไม่ได้เกิดมาจากตัววัยรุ่นเพียงอย่างเดียว แต่มีสาเหตุมาจากปัจจัยอื่นอีกหลายด้าน ครอบครัวก็เป็นส่วนหนึ่งที่มีผลกระทบต่อการเติบโตของวัยรุ่นมาเป็นวัยผู้ใหญ่ หากหวังให้ลูกทำตามข้อตกลงของครอบครัว ก็ต้องเริ่มจากความสัมพันธ์ที่ดีของครอบครัวก่อน ครอบครัวที่มีแต่กฎมากมาย ให้ลูกทำตาม แต่ความสัมพันธ์ในครอบครัวไม่ดี ก็ยากที่เป็นไปตามเป้าหมาย ผู้เขียนจึงอยากเชิญชวนให้ทุกคนเริ่มจากจุดเล็ก ๆ ที่เราสามารถนำไปปรับหรือแนะนำผู้อื่น คือ การสื่อสารที่ดี เพื่อความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นในครอบครัว |
|
Reference |
ประสบการณ์การเรียนรู้จากสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ |
Working with vulnerable groups (A clinical handbook for GPs) Chapter 10: Adolescent health |
![]() |
ผู้บรรยาย พญ.ณิชา จิรวิภาพันธ์ แพทย์ประจำบ้านภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว รพ.รามาธิบดี รุ่นที่ 20 25 มกราคม 2566 |
ภาพหน้าปกโดย นางมณีนุช มานชู