ภาวะกลืนลำบาก
คือ ความลำบากในการกลืนอาหาร น้ำหรือยา ที่เกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของช่องปาก คอหอย กล่องเสียง และหลอดอาหาร
เสี่ยงต่อการเสียชีวิตหากอาการรุนแรง
Aspiration Pneumonia ภาวะแทรกซ้อนระบบทางเดินหายใจเพราะปอดติดเชื้อจากการสำลัก หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น เช่น ขาดน้ำและขาดสารอาหาร
ใครบ้างมีภาวะเสี่ยงกลืนลำบาก
1. ผู้สูงอายุทั่วไป (พบได้มากถึง ร้อยละ 11-20)
2. ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s)
3. ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่สมอง (Brain Injury)
4. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
อาการกลืนลำบาก
1. สำลักหรือไอขณะกลืน
2. สำลักขึ้นจมูก เรอเปรี้ยว
3. มีอาการเจ็บคอหรือจุก รู้สึกว่ามีก้อนติดอยู่ในคอขณะกลืน
4. กลืนแล้วติดคอ แสบร้อนบริเวณหน้าอก
5. ดื่มน้ำแล้วสำลักบ่อย ๆ
6. ไม่สามารถกลืนอาหารแข็งหรือกลืนยาเม็ดได้
7. กลืนอาหารแล้วเสียงเปลี่ยน
8. มีน้ำหรืออาหารไหลออกทางปากหรือจมูก
คำแนะนำการกลืนอาหารให้ปลอดภัย
1. ดูแลความสะอาดของช่องปากและฟันทั้งก่อนและหลังรับประทานอาหารทุกมื้อ เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อแบคที่เรียในช่องปาก
2. ถ้าใส่ฟันปลอมต้องพอดีป้องกันการหลุดง่ายช่วยกระตุ้นความอยากอาหารและต้องหมั่นถอดทำความสะอาดทุกครัั้งหลังทานอาหาร
3. การจัดท่าในระหว่างการรับประทานอาหารให้ลำตัวตรงและก้มศีรษะลงเล็กน้อย
4. ไม่รับประทานอย่างเร่งรีบ หลีกเกลี่ยงการพูดคุยในขณะกลืนหรือมีอาหารอยู่ในปากรวมถึงไม่รับประทานอาหารคำใหญ่เกินไป
5. ฝึกเคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืนและฝึกกลืนให้ได้ประมาณ 2 ครั้ง ต่ออาหาร 1 คำ
6. รับประทานอาหารที่มีลักษณะแข็ง-เหลวสลับชนิดกัน เช่น อาหารเคี้ยวอาหารแข็งสลับกับการรับประทานซุบ
7. หากกลืนแล้วพบว่าถ้ามีเสียงน้ำในลำคอหลังการกลืนลองทำการกลืนซ้ำหรือกระแอมไอ หลาย ๆ ครั้ง
8. การป้อนอาหารคำเล็กจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการสำลักได้ในผู้ที่กลืนลำบาก แต่สำหรับผู้ที่มีปัญหาการรับความรู้สึกในช่องปากควรป้อนอาหารคำใหญ่พอประมาณ ซึ่งจะทำให้กลืนได้ง่ายขึ้น
9. หากกลืนแล้วมีอาการไอ หรือมีเสมหะมากขึ้น ให้หยุดการป้อนหรือรับประทานอาหารทันทีเพื่อสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ซึมลง มีไข้ ให้พามาพบแพทย์