รายละเอียดการรับสมัครแพทย์ประจำบ้านต่อยอด อนุสาขาจิตเวชศาสตร์การนอนหลับ ปีการศึกษา 2566 รอบที่ 1
1. คุณสมบัติผู้มีสิทธิ์สมัคร
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมแล้ว และต้องมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้
1.1 เป็นผู้ได้รับวุฒิบัตรฯ หรือหนังสืออนุมัติฯ สาขาจิตเวชศาสตร์
1.2 เป็นแพทย์ประจำบ้านสาขาจิตเวชศาสตร์ชั้นปีสุดท้ายและสำเร็จการฝึกอบรมแล้วในปีการศึกษานั้น
1.3 เป็นผู้มีสิทธิ์สอบเพื่อวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติฯ สาขาจิตเวชศาสตร์ในปีการศึกษานั้น
1.4 เป็นผู้ที่มีความสนใจทางจิตเวชศาสตร์การนอนหลับ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี บุคลิกภาพที่ดี และมีคุณสมบัติที่เหมาะสมแก่การเป็นจิตแพทย์การนอนหลับต่อไปในอนาคต ได้แก่ มีจรรยาบรรณแพทย์ มีความสามารถในการเข้าใจภาวะทางจิตใจของตนเอง และผู้อื่น ไม่มีความผิดปกติทางจิตอย่างรุนแรง และไม่มีความพิการอย่างรุนแรงที่อาจทำให้เป็นอุปสรรคต่อการฝึกอบรมอนุสาขาจิตเวชศาสตร์การนอนหลับ
2. ขั้นตอนการสมัคร
สมัครผ่านทางระบบออนไลน์ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 31 ตุลาคม 2565 โดยจะต้องสมัครให้ครบทั้ง 2 ขั้นตอนดังนี้
2.1 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี : http://med.mahidol.ac.th/graded/raf/
2.2 ศูนย์เวชบัณฑิตศึกษาแห่งประเทศไทย : https://tmc.or.th/tcgme/Pages/SelectTier
3. เอกสารประกอบการสมัคร
เอกสารตามที่กำหนดไว้ในข้อ 2.1 และข้อ 2.2 สำหรับเอกสารข้อ 2.2 ให้ยื่นโดยตรง หรือส่งทางไปรษณีย์ไปยัง 2 แห่งดังนี้
3.1 สำนักงานราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 1 ชุด
3.2 ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี 1 ชุด (เป็นเอกสารเช่นเดียวกับข้อ 3.1) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม - 31 ตุลาคม 2565 และจะต้องส่ง ผลสอบความรู้ภาษาอังกฤษ สามารถใช้ผลสอบของปี พ.ศ. 2564 - ปีปัจจุบัน โดยใช้ผลสอบอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้
- MU GRAD Plus (Computer Based)
- IELTS
- TOELF iBT
- MU ELT
** หากเอกสารไม่ครบถ้วน จะไม่มีสิทธิ์เข้ารับการสัมภาษณ์ **
** เกณฑ์คะแนนภาษาอังกฤษ **
4. แนวทางการรับแพทย์ประจำบ้านจิตเวชศาสตร์
หัวหน้าภาควิชาฯ ออกคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการคัดเลือกแพทย์ประจำบ้านจิตเวชศาสตร์ ก่อนวันกำหนดสอบสัมภาษณ์ โดยประกอบด้วย
- หัวหน้าภาควิชาจิตเวชศาสตร์ เป็นประธาน
- ประธานหลักสูตรแพทย์ประจำบ้านจิตเวชศาสตร์ เป็นเลขานุการ
- กรรมการหลักสูตรฯ
- อาจารย์ในภาควิชาที่ได้รับการเสนอจากที่ประชุมภาควิชา
5. เกณฑ์พิจารณา
คณะกรรมการสอบสัมภาษณ์จะพิจารณาจากเกณฑ์ต่อไปนี้
1. พิจารณาคัดเลือกตามที่ระบุไว้ในแผนการฝึกอบรมของสถาบันฝึกอบรมโดยให้ความสำคัญแก่ผู้สมัครที่มีต้นสังกัดจากหน่วยงานรัฐ และระยะเวลาที่ปฏิบัติงานชดใช้ทุนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการพิจารณาคัดเลือก
2. เป็นผู้ได้รับวุฒิบัตรฯ หรือหนังสืออนุมัติฯ สาขาจิตเวชศาสตร์
3. เป็นแพทย์ประจำบ้านสาขาจิตเวชศาสตร์ชั้นปีสุดท้ายและสำเร็จการฝึกอบรมแล้วในปีการศึกษานั้น
4. เป็นผู้มีสิทธิ์สอบเพื่อวุฒิบัตรและหนังสืออนุมัติฯ สาขาจิตเวชศาสตร์ในปีการศึกษานั้น
5. คณะกรรมการพิจารณายกเว้นคะแนนภาษาอังกฤษ เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19
6. คะแนนจากการสัมภาษณ์ โดยพิจารณาถึงความสนใจทางจิตเวชศาสตร์การนอนหลับ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี บุคลิกภาพที่ดี และมีคุณสมบัติที่เหมาะสมแก่การเป็นจิตแพทย์การนอนหลับต่อไปในอนาคต ได้แก่ มีจรรยาบรรณแพทย์ มีความสามารถในการเข้าใจภาวะทางจิตใจของตนเอง และผู้อื่น ไม่มีความผิดปกติทางจิตอย่างรุนแรง และไม่มีความพิการอย่างรุนแรงที่อาจทำให้เป็นอุปสรรคต่อการฝึกอบรมอนุสาขาจิตเวชศาสตร์การนอนหลับ
การพิจารณารับสมัครแพทย์ประจำบ้านฯ แต่ละรายจะเป็นไปตามมติของที่ประชุม หลังจากคณะกรรมการฯ ได้ประชุมและร่วมแสดงความคิดเห็นแล้ว โดยคณะกรรมการจะพิจารณาด้วยความโปร่งใส เสมอภาค ปราศจากอคติ ในเรื่องเชื้อชาติ ,เพศ ,ศาสนา ,การเมือง หรืออำนาจโดยมิชอบใดๆ
6. การประกาศผล
- ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการสัมภาษณ์ ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2565
- สัมภาษณ์ผู้สมัครแพทย์ประจำบ้าน อนุสาขาจิตเวชศาสตร์การนอนหลับ ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2565
- ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเข้าฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน อนุสาขาจิตเวชศาสตร์การนอนหลับ ช่วงเดือนธันวาคม 2565
* เมื่อได้กำหนดวันสัมภาษณ์แล้ว จะมีการโทรศัพท์ไปแจ้งวันเวลาดังกล่าวแก่ผู้สมัครโดยตรง
** เมื่อการพิจารณาตัดสินของคณะกรรมการเสร็จสิ้นแล้ว จะมีการโทรศัพท์ไปแจ้งผลแก่ผู้สมัครโดยตรง
7. การอุทธรณ์
หากผู้สมัครต้องการอุทธรณ์ผลการคัดเลื่อก สามารถทำได้โดยการยื่นคำร้องเพื่อขอตรวจสอบคะแนนได้ หลังการประกาศผลการคัดเลือกอย่างเป็นทางการภายใน 15 วัน โดยติดต่อขออุทธรณ์ผลได้ที่ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ (อาคาร 3 ชั้น 7) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
8. ช่องทางติดต่อ
8.1 ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (อาคาร 3 ชั้น 7)
270 ถนนพระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กทม. 10400
คุณชวัลส์ภัสร์ กวินนิธิพร 02-201-1929 ต่อ 220
8.2 หน่วยการศึกษาหลังปริญญา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
270 ถนนพระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กทม. 10400
เจ้าหน้าที่หน่วยการศึกษาหลังปริญญา 02-2011804-6
8.3 สำนักงานราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
กองจิตเวชและประสาทวิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
อาคารเฉลิมพระเกียรติ ชั้น 15 ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กทม. 10400
คุณจันทนา คำประกอบ 02-640-4488