- พันธกิจของการฝึกอบรม/หลักสูตร
เพื่อฝึกอบรมแพทย์ให้เป็นผู้เชี่ยวชาญสาขาจิตเวชศาสตร์โดยมีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ
- มีความรู้ความสามารถในเวชปฏิบัติที่ครอบคลุมและเหมาะสมกับบริบทของสาขาวิชาจิตเวชศาสตร์
- มีความสามารถในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ ในการแก้ไขปัญหา รวมถึงส่งเสริมสุขภาพ ด้วยความเอื้ออาทร ใส่ใจในความปลอดภัย โดยยึดถือผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานของการดูแลแบบองค์รวม
- มีความรู้ความสามารถอาชีพ (professionalism) มีเจตนารมณ์ และเตรียมพร้อมที่จะเรียนรู้ หรือเข้าร่วมในกิจกรรมการศึกษาอย่างต่อเนื่องได้ด้วยตนเอง และมีความสามารถด้านการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
- มีทักษะการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์ และมีพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อเพื่อนร่วมงานทั้งในวิชาชีพของตนเองและวิชาชีพอื่นๆ รวมทั้งผู้ป่วยและญาติ มีความสามารถในการทำงานร่วมกับสหวิชาชีพหรือแบบทีมผู้รักษาได้ โดยเป็นผู้นำทางวิชาการ
- มีความสามารถในการบริหารจัดการมีความรู้ความเข้าใจในระบบสุขภาพและกระบวนการพัฒนาคุณภาพและความปลอดภัย เพื่อให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
- มีความรับผิดชอบ มีจริยธรรมและจรรยาบรรณจิตแพทย์ มีเจตคติที่ดีต่อผู้ป่วย,ผู้ร่วมงาน และองค์กรเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการบริการทางจิตเวชศาสตร์ โดยคำนึงถึงความต้องการด้านสุขภาพของชุมชน,สังคม,ระบบบริการสุขภาพ และมีมุมมองอื่นๆ ที่เป็นความรับผิดชอบทางสังคมตามความเหมาะสม ได้แก่ การให้ความรู้บุคลากรทางการแพทย์ และศึกษาบริบทของชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ความรับผิดชอบต่อไป
กระบวนการฝึกอบรมมุ่งเน้นการบูรณาการภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติผ่านการดูแลรักษาผู้ป่วย เพื่อให้เกิดความชำนาญทั้งด้านการดูแลรักษา,ป้องกัน,ส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วย,ครอบครัวผู้ป่วย,เพื่อนร่วมงานและเพื่อนร่วมวิชาชีพ และสามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเองอย่างเต็มตัวโดยไม่ต้องมีการกำกับดูแล มีการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ มีนวัตกรรมที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม รวมถึงการวัดและประเมินผลที่ครอบคลุมผลลัพธ์การฝึกอบรม การฝึกอบรมยังคำนึงถึงสภาวะการทำงานที่เหมาะสมและสามารถรักษาสุขภาพของผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้อย่างสมดุล โดยมีกลไกการกำกับดูแล และประเมินหลักสูตรเป็นระยะ
ผลลัพธ์ของการฝึกอบรม/หลักสูตร
แพทย์ที่จบการฝึกอบรมเป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาจิตเวชศาสตร์ต้องมีคุณสมบัติและความรู้ความสามารถขั้นต่าตามสมรรถนะหลักทั้ง ๖ ด้านดังนี้
๑) การดูแลรักษาผู้ป่วย (Patient Care)
ก. มีทักษะในการสัมภาษณ์ทางจิตเวช การตรวจร่างกายการตรวจสภาพจิต การใช้แบบประเมินที่สาคัญ และการรวบรวมข้อมูล เพื่อนามาคิดวิเคราะห์อย่างเป็นเหตุเป็นผลเพื่อนาไปสู่การตัดสินใจให้การดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างเหมาะสม
ข. วินิจฉัยบาบัดรักษาภาวะผิดปกติทางจิตเวชศาสตร์ที่พบโดยทั่วไปในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
ค. บันทึกรายงานผู้ป่วยได้อย่างสมบูรณ์และสม่าเสมอ ง. ป้องกันโรคและสร้างเสริมสุขภาพจิต
๒) ความรู้,ความเชี่ยวชาญและความสามารถในการนาไปใช้แก้ปัญหาของผู้ป่วยและสังคมรอบด้าน (Medical Knowledge and Skills)
ก. มีความรู้พื้นฐานด้านสุขภาพจิต จิตวิทยา วิทยาศาสตร์การแพทย์และสังคมที่จาเป็นต่อการปฏิบัติงานด้านจิตเวช
ข. มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพและเชี่ยวชาญในสาขาจิตเวชศาสตร์
๓) การเรียนรู้จากการปฏิบัติและการพัฒนาตนเอง (practice-based learning and improvement)
ก. วิพากษ์บทความ และดาเนินการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขได้
ข. มีความรู้ในการคิดวิเคราะห์อย่างมีวิจารณญาณทางการแพทย์ และการแพทย์เชิงประจักษ์
ค. เรียนรู้และเสริมสร้างประสบการณ์ทางวิชาชีพได้ด้วยตนเองจากการฝึกปฏิบัติ
๔) ทักษะการมีปฏิสัมพันธ์ และการสื่อสาร (Interpersonal and Communication Skills)
ก. นาเสนอข้อมูลผู้ป่วย และอภิปรายปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
ข. ถ่ายทอดความรู้และทักษะ เป็นที่ปรึกษา ให้คาแนะนาแก่แพทย์และ/หรือนักศึกษาแพทย์และ/หรือบุคลากรทางการแพทย์
ค. สื่อสารให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยและญาติ ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยมีเมตตาเคารพการตัดสินใจและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ง. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทางานกับผู้ร่วมงานทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ
๕) ความรู้ความสามารถอาชีพ (Professionalism)
ก. มีคุณธรรมจริยธรรมและเจตคติอันดีต่อผู้ป่วย ญาติ ผู้ร่วมงาน เพื่อนร่วมวิชาชีพและชุมชน อย่างมีอิสระทางวิชาชีพ
ข. มีความสามารถในการสารวจจิตใจ พัฒนาตัวเอง และสามารถบริหารจัดการสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องได้เหมาะสม
ค. มีความสนใจใฝ่รู้และสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต (continuous professional development)
ง. มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
จ. คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม
๖) การปฏิบัติงานให้เข้ากับระบบ (System-based practice)
ก. มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับระบบสุขภาพ บริบททางสังคม และวัฒนธรรมของประเทศ
ข. มีความรู้และมีส่วนร่วมในระบบพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย
ค. ใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างเหมาะสม(cost consciousness medicine) และสามารถปรับเปลี่ยนการดูแลรักษาผู้ป่วยให้เข้ากับบริบทของการบริการสาธารณสุขได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ
ท่านสามารถโหลดรูปเล่มหลักสูตรได้ตามลิ้งค์ข้างล่าง
https://drive.google.com/file/d/152HX8QpgSZYXv1ppeMnW1DH9AP58Uofx/view?usp=sharing