รู้จักหลักสูตร....
ปรัชญา
ผลิตมหาบัณฑิตสาขาวิชาจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว ที่มีคุณธรรมจริยธรรม มีความรู้ความสามารถ ทักษะ เจตคติที่ดี และสามารถทำวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ในการแก้ไข ป้องกัน และสร้างเสริมสุขภาพจิตของเด็กและวัยรุ่น ทั้งในระดับบุคคล ครอบครัว โรงเรียน และสังคม ได้อย่างสอดคล้องกับสังคมไทยและการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้าง
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแล้ว มหาบัณฑิตจะมีคุณลักษณะตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา ดังนี้
๑. มีคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว ตลอดจนมีคุณลักษณะตามวัฒนธรรมองค์กร (Core Values) ของมหาวิทยาลัยมหิดล
๒. มีความรู้ ความเข้าใจ องค์ความรู้ด้านจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว
๓. สามารถบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว เพื่อการปฏิบัติงาน รวมทั้งริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
๔. มีทักษะในการสร้างเสริมสุขภาพจิต ประเมิน ช่วยเหลือ และฟื้นฟูด้านจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว
๕. มีทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในการทำงานในองค์กร ชุมชน และสังคม รับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มีความเป็นผู้นำและสามารถทำงานเป็นทีม รวมทั้งมีความสามารถในการพัฒนาตนเองจากภายใน
๖. มีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข มีความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการศึกษาวิจัย และปฏิบัติงานด้านจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
๑. คุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว ตลอดจนมีคุณลักษณะตามวัฒนธรรมองค์กร (Core Values) ของมหาวิทยาลัยมหิดล
๒. ความรู้ ความเข้าใจ ในองค์ความรู้ด้านจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว
๓. บูรณาการองค์ความรู้ทางด้านจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว เพื่อประเมิน คัดกรอง และริเริ่มสร้างสรรค์นวัตกรรมและงานวิจัยในการส่งเสริม ป้องกัน ช่วยเหลือ และฟื้นฟูด้านจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่นในบริบทครอบครัว โรงเรียนและชุมชน
๔. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในการทำงานในองค์กร ชุมชน และสังคม ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว
๕. ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการศึกษาวิจัย และปฏิบัติงานด้านจิตวิทยาเด็ก วัยรุ่น และครอบครัว
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
๑. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าในสาขาวิชาจิตวิทยา พยาบาลศาสตร์ ครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ และสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ จากสถาบันที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
๒. ได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า ๒.๗๕
๓. มีประสบการณ์ทำงานในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก วัยรุ่นและครอบครัวอย่างน้อย ๑ ปี
๔. มีผลคะแนนภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย
๕. ผู้สมัครที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ข้างต้น อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรและคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
โครงสร้างหลักสูตร |
||||||||
|
||||||||
|
||||||||
|
||||||||
|
||||||||
|
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
จำนวนนักศึกษาในหลักสูตร