You are here

กรณีศึกษาภาวะเป็นพิษ จากสารเสริมประสิทธิภาพพืช

กรณีศึกษาภาวะเป็นพิษ จากสารเสริมประสิทธิภาพพืช

พันโทนายแพทย์กิติศักดิ์ แสนประเสริฐ
อาจารย์แพทย์ประจํากองอุบัติเหตุ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า

ผู้ป่วยหญิงอายุ 82 ปี ญาติพบผู้ป่วยนอนซึมปลุกไม่ตื่นจึงพามาโรงพยาบาล ข้างตัวผู้ป่วยพบว่ามีขวด สารเสริมประสิทธิภาพพืชตกอยู่ แรกรับที่โรงพยาบาล ผู้ป่วยหมดสติ E1V1M4, vital signs: BT 36 oC, BP 110/60 mmHg, HR 90 bpm, RR 14/min ตรวจร่างกายไม่พบ signs ของ toxidromes ใดๆ หลังจากนั้นผู้ป่วย เริ่มมีความดันตํ่า BP 70/50 mmHg และจากผลการตรวจทางห้องปฎิบัติการพบว่า ผู้ป่วยเกิดภาวะ metabolic acidosis เกิดขึ้น ผู้ป่วยได้รับใส่ท่อช่วยหายใจและทํา peritoneal dialysis หลังจาก สามวัน หลังจากนอนโรงพยาบาล ผู้ป่วยสามารถถอดท่อช่วยหายใจออกได้ และภาวะเลือดเป็นกรดดีขึ้นตามลำดับ โดยที่ขวดสารเสริมประสิทธิภาพพืชที่ญาตินํามาให้ดูนั้นมีส่วนประกอบเป็น surfactant 80% และ butanol 20%

 

จากการเก็บข้อมูลของศูนย์พิษวิทยาโรงพยาบาลรามาธิบดีพบว่า สารเสริมประสิทธิภาพพืชชนิดนี้ สามารถทําให้เกิดอาการพิษที่รุนแรงได้ โดยจากข้อมูลพบว่าผู้ป่วยจะเกิดอาการคล้ายคลึงกัน ได้แก่ ซึมความดันโลหิตตํ่า และมีภาวะ metabolic acidosis เกิดขึ้น และสามารถทําให้เสียชีวิตได้ โดยถ้าเราดูจากส่วนประกอบของสารชนิดนี้พบว่ามีส่วนประกอบหลักอยู่สองชนิดคือ  nonylphenol ethoxylate (NPE) 80% ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของ non-ionic surfactant และอีกส่วนประกอบหนึ่งคือ butyl alcohol อีก 20% จากการเก็บข้อมูลและการศึกษาต่างๆ พบว่า สารลดแรงตึงผิวหรือ surfactants นั้นจัดอยู่ในกลุ่มของสารที่เป็น low toxicity และจากการศึกษาในผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากสารกลุ่ม detergents ที่มี surfactants เป็นส่วนประกอบนั้น พบว่า(1) ผู้ป่วยเสียชีวิตจากการสําลักสาร และยังไม่สามารถตรวจพบสารในเลือดหรือในสารคัดหลั่ง อื่นๆ ซึ่งทําให้คิดได้ว่าสาเหตุการเสียชีวิตน่าจะเกิดจากการลําลักสารเป็นหลัก สําหรับส่วนประกอบอีกชนิดหนึ่งคือ butanol ซึ่งเป็น alcohol ชนิดหนึ่งซึ่งกลไกการเกิดพิษ และปริมาณที่ทําให้เกิดพิษอย่างชัดเจนยังไม่มีรายงานในขณะนี้แต่พบว่าในผู้ป่วยที่มีอาการจาก butanol poisoning มีอาการคล้ายคลึงกับผู้ป่วยรายนี้คือ มีอาการซึม metabolic acidosis และ renal failure เกิดขึ้นได้ (2) ส่วนการรักษานั้นการให้ ethanol และ การทํา hemodialysis อาจจะมีประโยชน์ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ แต่อย่างไรก็ตามกลไกการเกิดพิษที่แน่นอนของสารเสริมประสิทธิภาพพืชชนิดนี้ยังคงเป็นปริศนาและยังต้องการการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อทราบถึงกลไกที่แท้จริงและ เพื่อให้การรักษาได้ถูกต้อง จากกรณีศึกษาในผู้ป่วยรายนี้ สิ่งที่เราต้องเรียนรู้เพิ่มเติม คือ ถึงแม้ว่าส่วนประกอบของสารนั้นดูเหมือนเป็นสิ่งที่เป็นพิษน้อยก็ตาม แต่หากได้รับปริมาณที่มากเกินไปก็สามารถทําให้เกิดอาการเป็นพิษเกิดขึ้นได้ เหมือนดั่งคําพูด ของ Paracelsus ที่ได้กล่าวไว้ว่า "sola dosis facit venenum" หรือ "The dose makes the poison” นั่นเอง

 

เอกสารประกอบการเรียบเรียง

  1. Kawamoto O, Ishikawa T, Oritani S, Kuramoto Y, Michiue T, Maeda H. Death following the ingestion of detergent: an autopsy case with special regard to the histochemical findings. Forensic Sci Med Pathol. 2013 Jun;9(2):208-13.
  2. Bunc M, Pezdir T, Mozina H, Mozina M, Brvar M. Butanol ingestion in an airport hangar. Hum Exp Toxicol. 2006 Apr;25(4):195-7.
พิษวิทยาสำหรับบุคลากรทางการแพทย์พิษวิทยาสำหรับประชาชนวีดิโอข่าวสารประชาสัมพันธ์
 
เพิ่มเพื่อน