ผลสัมฤทธิ์การฝึกอบรม (Expected Learning Outcomes)
แพทย์ที่จบการฝึกอบรมเป็นแพทย์เฉพาะทางสาขาอายุรศาสตร์ จากภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ต้องมีคุณสมบัติและความรู้ความสามารถตามสมรรถนะหลัก 8 ด้าน (โดยเพิ่มเติมสมรรถนะหลักอีก 2 ด้าน นอกเหนือจากความสามารถขั้นต่ำตามสมรรถนะหลัก 6 ด้าน ของเกณฑ์หลักสูตรการฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านสาขาอายุรศาสตร์ของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ฯ) ดังนี้
-
การดูแลรักษาผู้ป่วย (Patient Care)
-
มีทักษะในการซักประวัติ ตรวจร่างกายผู้ป่วย ทำหัตถการ และรวบรวมข้อมูล สำหรับนำมาคิดวิเคราะห์อย่างเป็นเหตุเป็นผล เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจให้การดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างเหมาะสม โดยมีผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางบนพื้นฐานของการดูแลแบบองค์รวม
-
วินิจฉัยบำบัดรักษาภาวะผิดปกติทางอายุรศาสตร์ที่พบโดยทั่วไปในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
-
บันทึกรายงานผู้ป่วยได้อย่างสมบูรณ์และสม่ำเสมอ
-
ให้การป้องกันโรคและสร้างเสริมสุขภาพได้อย่างเหมาะสม
-
ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และความสามารถในการนำไปใช้แก้ปัญหาของผู้ป่วยและสังคมรอบด้าน (Medical knowledge and Skills)
-
เข้าใจวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานของร่างกาย และจิตใจ
-
มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพ และเชี่ยวชาญในสาขาอายุรศาสตร์
-
การพัฒนาตนเองและการเรียนรู้จากการปฏิบัติ (Practice-based Learning and Improvement)
-
มีความคิดสร้างสรรค์ตามหลักวิทยาศาสตร์ในการสร้างความรู้ใหม่และพัฒนาระบบบริการสุขภาพ
-
เรียนรู้และเพิ่มประสบการณ์ได้ด้วยตนเองจากการปฏิบัติ
-
นำความรู้จากงานวิจัยมาปรับใช้ในการปฏิบัติงาน
-
ทักษะปฏิสัมพันธ์ และการสื่อสาร (Interpersonal and Communication Skills)
-
นำเสนอข้อมูลผู้ป่วย และอภิปรายปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ
-
มีทักษะในการถ่ายทอดความรู้ ให้แพทย์ นักศึกษาแพทย์ และบุคลากรทางการแพทย์
-
สื่อสารให้ข้อมูลแก่ญาติ และผู้ป่วย ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยมีเมตตา เคารพการตัดสินใจและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
-
มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
-
เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำแก่แพทย์และบุคลากรอื่น โดยเฉพาะคำปรึกษาทางอายุรศาสตร์
-
ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism) และความเป็นอิสระทางวิชาชีพ
-
มีคุณธรรม จริยธรรม และเจตคติอันดีต่อผู้ป่วย ญาติ ผู้ร่วมงาน เพื่อนร่วมวิชาชีพและชุมชน
-
ให้การบริบาลโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง รักษามาตรฐานและคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย
-
มีความสนใจใฝ่รู้ และสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้เรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต (Continuous Professional Development)
-
มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
-
คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวม
-
การปฏิบัติงานให้เข้ากับระบบ (System-based Practice)
-
มีความรู้เกี่ยวกับระบบสุขภาพของประเทศ
-
มีความรู้และมีส่วนร่วมในระบบพัฒนาคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วย
-
ใช้ทรัพยากรสุขภาพอย่างเหมาะสม (Cost Consciousness Medicine) และสามารถปฏิบัติงานหรือปรับเปลี่ยนการดูแลรักษาผู้ป่วยให้เข้ากับบริบทของการบริการสาธารณสุขหรือความต้องการของชุมชนได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ
-
ความรู้ ความสามารถในการดำเนินการวิจัย (Research Skills)
-
มีความรู้พื้นฐานของการทำวิจัย
-
รู้หลักการการปฏิบัติงานวิจัยทางคลินิกที่ดี (Good clinical practice)
-
สามารถตั้งคำถามวิจัยได้เหมาะสม
-
วิเคราะห์ วิจารณ์งานวิจัยได้อย่างเหมาะสม
-
ดำเนินการวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขได้
-
การทำงานเป็นทีมและทักษะการเป็นผู้นำ (Teamwork and Leadership Skills)
-
ทำงานร่วมกันเป็นทีมกับผู้ร่วมงานทุกระดับอย่างมีประสิทธิภาพ
-
มีความสามารถในการบริหารจัดการและเป็นผู้นำในทีมดูแลผู้ป่วย
