» ผลลัพธ์ที่ได้เป็นการประเมินความน่าจะเป็นของโอกาสเกิดโรคไต (อัตราการกรองของไต < 60 มิลลิลิตร/นาที/1.73 ตร.ม.) ในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้า โดยค่าที่แสดงเป็นการประมาณเบื้องต้นที่อ้างอิงจาก Saranburut et al. BMC Nephrology (2017) 18:240.
» ผลการประเมินและคำแนะนำที่ได้รับจากโปรแกรมนี้ไม่สามารถใช้แทนการตัดสินใจของแพทย์ได้ การตรวจรักษาเพิ่มเติมหรือการให้ยารักษาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์และการปรึกษากันโดยตรงระหว่างแพทย์และตัวท่าน
» ผลการประเมินนี้ห้ามนำไปใช้อ้างอิงในการค้า ธุรกิจหรือการทำธุรกรรมเพื่อหวังผลประโยชน์สิ่งใดสิ่งหนึ่ง อาทิเช่น การทำประกันชีวิต และไม่สามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยที่ทราบว่าเป็นโรคไตอยู่เดิมได้
![]() |
โปรแกรมนี้ทำขึ้นเพื่อใช้ประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตในคนไทย โดยแสดงผลเป็นความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตในระยะเวลา 10 สิบปีข้างหน้า ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งในกรณีที่ท่านไม่มีผลเลือดและในกรณีที่มีผลการตรวจเลือด แบบประเมินนี้สร้างขึ้นจากการติดตามศึกษาหาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไตในประชากรไทยภายใต้โครงการศึกษาพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 20 ปี หากท่านมีข้อสงสัยหรือไม่แน่ใจแนะนำให้เข้ารับการประเมินโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ |
ศ.นพ. ปิยะมิตร ศรีธรา
รศ.นพ. ม.ล.ชาครีย์ กิติยากร
รศ. สมลักษณ์ วนะวนานต์
ผศ.ดร. อัญชลี จิตธรรมมา
นพ. ปริญญ์ วาทีสาธกกิจ
นพ. มนต์ธวัช อำนวยพล
นพ. สุวาณิช เตรียมชาญชูชัย
นส. พัชรา แพนพันธ์อ้วน
นส. นิสากร ทองมั่ง
นส. กฤติกา สราญบุรุษ
การศึกษาระยะยาวถึงอิทธิพลของปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจหลอดเลือด และเมแทบอลิซึมในพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
พญ.อนินทิตา ทัศนียพันธุ์