ผลงาน ชุดตั้งเงื่อนไขประกอบการตรวจการได้ยินสำหรับเด็กหูหนวก

ชุดตั้งเงื่อนไขประกอบการตรวจการได้ยินสำหรับเด็กหูหนวก
รศ.กฤษณา เลิศสุขประเสริฐ และ ผู้ช่วยอาจารย์รวินทร์ สุวณิชย์

ที่มาและเหตุผล

เด็กหูหนวก มีปัญหาทางการได้ยิน การพูด และการสื่อภาษา  การตรวจการได้ยินเด็กหูหนวกจำเป็นต้องใช้วิธีพิเศษ เพื่อให้ได้ผลตรวจที่แม่นยำ  บ่อยครั้งที่มีการใช้การตรวจการได้ยินโดยอาศัยการตอบสนองทางสรีระ (physiologic evaluation)     ซึ่งมีข้อจำกัดหลายประการ ได้แก่ เด็กต้องกินยานอนหลับ ใช้เวลาตรวจนาน และผลการตรวจ เป็นเพียงการประมาณการระดับการได้ยิน  อาจมีความคลาดเคลื่อน ซึ่งเป็นผลเสียในการประเมินเครื่องช่วยการได้ยินซึ่งมีความ สำคัญต่อพัฒนาการทางภาษาและการพูด ของเด็กหูหนวก การตรวจการได้ยินที่น่าเชื่อถือ จะต้องเป็นการตอบสนองจากเด็กเอง  

วัตถุประสงค์

ประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยในการตรวจการได้ยินเด็กหูหนวก โดยใช้หลักการสร้างเงื่อนไข เพื่อให้เด็กตอบสนองตามวิธีที่กำหนด โดยไม่ต้องพูดอธิบาย

แนวคิดและการดำเนินการ

ผู้ประดิษฐ์ ได้แนวความคิดมาจาก Institute for the Deaf, Sint Michegestel , The Netherlands.  โดยใช้ระบบแสงไฟ ระบบการสั่นสะเทือน และใช้ของเล่นเป็นแรงเสริม (ซึ่งจะช่วยดึงดูดความสนใจของเด็ก) โดยออกแบบให้มีลักษณะเป็น modular construction คือ การรวมอุปกรณ์ทั้งหมดไว้เป็นหน่วยเดียวกัน ทำให้สะดวกในการใช้งาน สามารถเคลื่อนย้ายและเก็บได้โดยสะดวก เรียบร้อยเมื่อเลิกใช้

ผลการศึกษา

จากการทดลองใช้อุปกรณ์กับเด็กหูพิการที่ยังไม่เคยผ่านการตรวจชนิดนี้จำนวน 134 คน ช่วงอายุ 1 – 5 ปี พบว่า เด็ก  116 คน ( 86.6 %) สามารถทำตามเงื่อนไข ในการตรวจการได้ยิน ทำให้ได้ผลตรวจการได้ยินที่เป็นประโยชน์ในการประเมินเครื่องช่วยฟัง และเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูได้ทันที 13 คน (9.7%) สามารถทำตามเงื่อนไขในการตรวจครั้งที่ 2และ3  มีเพียง 3.7 % ที่ไม่ร่วมมือในการตรวจ

 

 

ดัชนีชี้วัด

 

ตัวชี้วัด เป้าหมาย ผลการดำเนินงาน
ก่อนดำเนินการ หลังดำเนินการ

ด้านการลดการใช้ทรัพยากร

 ลดบุคลากรและค่าใช้จ่าย

ในการให้บริการ/ดำเนินงาน

ลดภาวะเสี่ยงในภารให้เด็กกินยานอนหลับ 80-90 % 10-20 %
ลดค่าใช้จ่ายในการตรวจ 500-1000 บาท 150 บาท

ด้านการลดขั้นตอน

และระยะเวลาการให้ให้บริการ/ดำเนินงาน

ลดระยะเวลาในการตรวจ 90-120 นาที 15-20 นาที

 

  
 

 

ประโยชน์

สิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวมีประโยชน์ทั้งในด้านกระบวนการให้บริการการตรวจการได้ยินสำหรับเด็กเล็ก ลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการให้ยานอนหลับ  ลดระยะเวลา และค่าใช้จ่ายในการตรวจ ได้ผลตรวจที่น่าเชื่อถือ สามารถฟื้นฟูเด็กหูพิการได้ทันที หลังประเมินเครื่องช่วยการได้ยิน