กลั้นปัสสาวะไม่อยู่_๑๘๐๗๒๖_0001
หน้าแรก
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ บำบัดได้โดยไม่ต้องผ่าตัด
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ บำบัดได้โดยไม่ต้องผ่าตัด

อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ อาจรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วยที่ประสบปัญหา เนื่องจากต้องเข้าห้องน้ำบ่อยกว่าคนทั่วไป หรืออาจต้องเข้าทันทีที่ปวด ขณะที่คนปกติสามารถกลั้นไว้ก่อนได้ไม่จำเป็นต้องเข้าห้องน้ำทันที นอกจากนี้ในคนที่กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ จะมีการขับถ่ายต่อครั้งในปริมาณน้อย แต่ขับถ่ายบ่อยจนกลายเป็นปัญหา ทั้งยังพบว่าในบางรายมีปัญหาปัสสาวะเล็ดหรือราดออกมาบ่อยครั้ง ซึ่งควรได้รับการรักษา โดยในการรักษาปัจจุบันก็มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน นอกเหนือไปจากการผ่าตัด

หลักการของปัสสาวะ

ไตกรองของเสีย ➞ ท่อไต ➞ เก็บในกระเพาะปัสสาวะ ➞ เมื่อถึงระดับหนึ่ง ➞ ส่งกระแสประสาทไปยังต่อมใต้สมอง ➞ รู้สึกปวดปัสสาวะ

คนปกติจะขับถ่ายปัสสาวะปริมาณ 400-600 มิลลิลิตร/ครั้ง

คนที่มีปัญหากลั้นปัสสาวะไม่อยู่ จะขับถ่ายปัสสาวะน้อยกว่า 400-600 มิลลิลิตร/ครั้ง

สาเหตุของอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

  • การบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ
  • การอักเสบติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะหรือทางเดินปัสสาวะ
  • ช่องคลอดหย่อน
  • หูรูดไม่แข็งแรงหรือเสื่อม
  • เยื่อบุรอบท่อปัสสาวะบางฝ่อ
  • ท้องผูกเรื้อรัง
  • การใช้ยาบางชนิด
  • ปัญหาเรื่องน้ำหนักตัว
  • เครื่องดื่มคาเฟอีน

การรักษา

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (ลดเครื่องดื่มคาเฟอีน, หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำก่อนนอน, ไม่กลั้นปัสสาวะซึ่งทำให้ติดเชื้อ)
  • ควบคุมน้ำหนัก
  • รักษาอาการท้องผูก
  • รักษาด้วยยา
  • ขมิบช่องคลอด (เป็นการบริหารกล้ามเนื้อ)
  • ใช้อุปกรณ์พยุง (รักษาอาการช่องคลอดหย่อน)
  • เลเซอร์ (รักษาเยื่อบุรอบท่อปัสสาวะบางฝ่อ)

 

ข้อมูลจาก
อ. นพ.คมกฤช เอี่ยมจิรกุล
สาขาวิชาอนามัยการเจริญพันธุ์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล


คลิกชมคลิปรายการ “การบำบัดภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่โดยไม่ต้องผ่าตัด : พบหมอรามา ช่วง Big Story” ได้ที่นี่

บทความที่เกี่ยวข้อง